การปรับพฤติกรรมการหยอกล้อกันในระหว่างเรียน โดยวิธีการวางเงื่อนไขด้วยตัวละครลับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนเทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียน เทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร ผู้วิจัยได้จัดทำแบบบันทึกพฤติกรรมการหยอกล้อกันในระหว่างเรียน โดยการ สะสมแต้มหัวใจแห่งความดีจำนวน 5 ชั่วโมง และได้ทำการนำผลมาหาค่า ร้อยละ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และหาข้อสรุป เพื่อปรับพฤติกรรมของนักเรียนในเรื่องการหยอกล้อกันในระหว่างเรียน โดยวิธีการวางเงื่อนไข ด้วยตัวละครลับ ผลการศึกษาปรากฏว่า จากการศึกษาและวิเคราะห์จัดทำแบบบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีพฤติกรรมไม่หยอกล้อ กันในระหว่างเรียน ระหว่างคะแนน 8 - 10 คิดเป็นร้อยละ 78.57 คะแนน 5 - 7 คิดเป็นร้อย 14.28 คะแนน 2 - 4 คิดเป็นร้อยละ 7.14
Article Details
References
การปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563. จาก https://sites.google.com/ site/psychologymcu5/kar-chi-citwithya-ni-chan-reiyn/3-3-kar-prab-phvtikrrm-ni-chan reiyn.
ตรรกพร สุขเกษม. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติของ นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2554 ในบทเรียนเรื่อง “การกาหนดนโยบายสาธารณะ”. รายงานวิจัยในชั้นเรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.
นพคุณ นิศามณี. (2547). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือเสริมกรุงเทพฯ.
พวงทอง ป้องภัย. (2550). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี .