การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมหาอุกกุสชาดกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองอุบล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยการใช้บทบาทสมมติ

Main Article Content

พุธวไล ชนรินทร์
ปวีณา จันทาทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาความรู้ในเนื้อหาเรื่องมหาอุกกุสชาดกและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนในเนื้อหาเรื่องมหาอุกกุสชาดก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองอุบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1 โดยการใช้บทบาทสมมุติ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเมืองอุบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1 จำนวน 25 คน     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง มหาอุกกุสชาดก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง มหาอุกกุสชาดก สถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องมหาอุกกุสชาดกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7.20 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 2.48 เพิ่มขึ้นด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.72

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทพรอพเพอรตี้จํากัด.

สุชาดา ทิพย์มนตรี. ประสิทธิผลการใช้การแสดงบทบาทสมมุติในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบริการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อายุพร สาชาติ. (2548). พฤติกรรมในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รีบการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมุติ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.