การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 โดยใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ อาคิตะ แอคชั่น (Akita Action)

Main Article Content

ธนัชชา หงษ์ทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 โดยใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ อาคิตะ แอคชั่น (Akita Action) 2. เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 จำนวน 2 ห้อง นักเรียน 46 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลทางการเรียนเรียนรู้จำนวน 20 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผนโดยใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้อาคิตะ แอคชั่น (Akita Action) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 รายวิชา ภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (  ) การทดสอบค่า t แบบไม่เป็นอิสระแก่กัน และค่าพัฒนาการของผู้เรียนหลังการจัดการเรียนรู้ (DS) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 โดยใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ อาคิตะ แอคชั่น (Akita Action) นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 2) นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ระดับสูงขึ้นไป นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การพัฒนาที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรและประเทศไทยจำกัด, 2553.

จันทร์หอม ทองนำ . (2553). การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานการศึกษาจังหวัดอคิตะ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์, พิณพนธ์ คงวิจิตต์ และกิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน, เฉลิมชัย มนูเสวต และวาสนา วิสฤตาภา. ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1).

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การจัดการเรียนรู้รูปแบบอะคิตะโมเดล “AKITA MODEL” โดย ประยุกต์ใช้วิธีการสอนเชิงรุกของจังหวัดอะคิตะ ประเทศญี่ปุ่น (Akita Action). กรุงเทพฯ: สภาการศึกษา.