ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน 2.เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน 3. เปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน 4.เปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน 5.หาความสัมพันธ์ 6.หาอำนาจพยากรณ์และ 7.หาแนวทางพัฒนา ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 339 คน ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- ปัจจัยทางการบริหาร (X) กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน (Y) โดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .572**)
- ปัจจัยทางการบริหาร จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 33.6 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.29350
7.ปัจจัยทางการบริหารประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านคุณลักษณะของบุคลากร 3) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ
Article Details
References
กาญจนา ภาวงศ์. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เจนภพ ชาไมล์.(2561).ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไชยา ภาวะบุตร. (2555). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. สกลนคร :มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ธนายุทธ ช่อมะลิ.(2563).ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วรัชยา ลาบบุญ.(2563).คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิมาลย์ ลีทอง.(2563).ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สนั่น ประจงจิตร. (2556). ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ลักษณะงานของครูและแรงจูงใจในการทางานของครู ที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน.วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรคุปต์ บุญเกษม.(2560).ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์.วิทยานิพนธ์ ปร.ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,11(1),223.
Fenton and Murphy. (2014). New Leaders for New Schools Data-Driven Instruction (Online). www.ascd.org/ascd-express/vol5/508-fenton.aspx, February 23,2012.
Glickman, C. D., Gordon, S.P. & Ross-Gordon, J.M. (2001). Super Vision and instructional Leadership: A Developmental Approach (5th ed.). Boston: Pearson Education Inc.
Ruilin Lin. (2010). The Relationship between Teacher Quality and Teaching Effectiveness Perceived by Students frum Industrial Vocational High School.Asian Journal of Arts and Sciences, 1(2), 167-187.