สมรรถนะอาจารย์พยาบาลในบริบทที่เปลี่ยนแปลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะอาจารย์พยาบาล จากการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสุขภาพและการนำรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการจัดการศึกษา อาจารย์พยาบาลเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนการสอน ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่สภาการพยาบาลได้กำหนดไว้ ดังนั้นในการจัดการศึกษาพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพนั้นอาจารย์พยาบาลผู้สอนจำเป็นต้องมีสมรรถนะ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตร และการนำไปใช้ 3) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล 4) ด้านการวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 5) ด้านการสื่อสาร ความร่วมมือ และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน 6) ด้านกฎหมาย/จริยธรรม และความเป็นมืออาชีพ 7) ด้านการติดตามและประเมินผล และ 8) ด้านการจัดการ ภาวะผู้นำ และการเป็นผู้สนับสนุน สมรรถนะอาจารย์พยาบาลนั้นสามารถนำไปใช้ในการบริหารบุคคลกรอาจารย์พยาบาลให้มีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และคณะ. (2560). การลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 13-26.
กาญจนา สันติพัฒนาชัย และคณะ. (2541). การประเมินความต้องการการพัฒนาอาจารย์ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. รายงานการวิจัย. สถาบันพระบรมราชชนก สานักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา. (2548). ศักยภาพความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
บุญญาภา โพธิ์เกษม. (2558). อาจารย์พยาบาลกับความสุขในการทำงาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 13-24.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2559). ภาวะผู้นำของพยาบาลในประชาคมอาเซียน. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประสิทธิ์ วัฒนาภา. (2557). การจัดการการศึกษาพยาบาลสำหรับศตวรรษที่ 21: การประชุมคณบดีและผู้อำนวยการสถาบันการพยาบาล “การจัดการการศึกษาพยาบาลสำหรับศตวรรษที่ 21”. 13 กุมภาพันธ์ 2557 โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ.
เพ็ญศรี ทองเพชร. (2559). ส่วนประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะอาจารย์พยาบาลในศตวรรษที่ 21 วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข: รายงานการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี.
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2558). การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 42(2), 152-156.
สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2546). คู่มือการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต.
สุณี เศรษฐเสถียร. (2558). รูปแบบการเรียนแบบสหวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี. เวชศาสตร์ฟื้นฟู, 25(2), 65-70.
อัญชลี สารรัตนะ. (2559). การศึกษาเชิงสังเคราะห์เกี่ยวกับสมรรถนะสากล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(3), 1-13.
อัญชลี สารรัตนะ สุวดี เอื้ออรัญโชติ ปวีร์ ศิริรักษ์ และ สมสมร เรืองวรบูรณ์. (2559). สมรรถนะสากลของนักศึกษาสาขาทันตแพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
องค์อร ประจันเขตต์. (2557a). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง : มุมมองในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 179-184.
องค์อร ประจันเขตต์. (2557b). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 45-51.
Partnership for 21st Century Skills. (2008). 21st century skills: education and competitiveness: A resource and policy guide. Ohio: Columbus Office.
The Higher Education Commission. (2018). Guidelines for promoting the quality of teaching and learning management of instructors in higher education institutions. Bangkok: Pappim.
World Health Organization. (2016). Nurse educator core competencies: Geneva: The WHO Document Production Services.