การบริหารโครงการด้านวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดวิถีใหม่วิถีคุณภาพ โรงเรียนบ้านหนองอีเก้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

Main Article Content

เพ็ญศรี แสนเภา

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการด้านวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดวิถีใหม่วิถีคุณภาพ โรงเรียนบ้านหนองอีเก้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) ศึกษาผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ 3) ประเมินความพึงพอใจที่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งหมด 130 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามประเมินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 แบบสอบถามศึกษาประเมินโครงการ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ผลการศึกษาผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการด้านวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดวิถีใหม่วิถีคุณภาพ โรงเรียนบ้านหนองอีเก้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษร คำวิโส. (2564). การประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 18(2), 87-96.

ทิศนา แขมมณี. (2546). กิจกรรมปลูกฝังค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตร เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักขณา และพรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่: CIPPiest THE NEW CURRICULUM EVALUATION: CIPPiest MODEL. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9 (2), 203-212.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภัทรนิษฐ์ วงศ์บุญญฤทธิ์, สุระศักดิ์ ฉายขุนทด และไกร เกษทัน. (2563). การประเมินผลโครงการ การพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะและธรรมแห่งใจด้วย S & S Model และวิถี ทอ.บ. ตามรอยพ่ออย่างยั่งยืน การประเมินผลโครงการการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และธรรมแห่งใจด้วย S & S Model กับวิถี ทอ.บ. ตามรอยพ่ออย่างยั่งยืน ของโรงเรียนทหารอากาศบำรุง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14 (2), 173-185.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทวี. พรินท์ (1991) จำกัด.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

โรงเรียนบ้านหนองอีเก้ง. (2562). รายงานการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. เลย: โรงเรียนบ้านหนองอีเก้ง.

วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

วิไลวรรณ ทรงกลด. (2557). รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาความสามารถด้านการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ.

ศิริรัตน์ นิลนาก. (2562). การประเมินโครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2557). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายฟ้า หาสีสุข และธินิดา พิลาล้ำ. (2565). การประเมินโครงการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2(1), 33-42.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2562). รายงานการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

________. (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เอกชัย ศรีวิไล. (2560). การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนนําร่องสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้รูปแบบประเมิน 360 องศา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bunyamin. (2009). The Effectiveness of using Dicstom Technique to Teach Descriptive Writing to the Eleventh Grade Students of MAN 2 Palembang. Master’s Thesis in University of Sriwijaya, Palembang, Indonesia.

Stufflebeam and Daniel, (2003). The CIPP model for Evaluation. International. Handbook of Educational Evaluation, 9, 31-62.

Stufflebeam, D. L. and Shinkfield, A.J.(2007). Evaluation theory model & Applications. CA: Jossey-Bass.