ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา The need to improve the personnel management of the school

Main Article Content

ฐิติมา ระสอน

บทคัดย่อ

การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งของสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาควรเริ่มที่การประเมินบริบท เพื่อให้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ขององค์การและรู้ความต้องการขององค์การว่าจำเป็นต้องได้รับการสนองตอบในด้านใด การดําเนินงานดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการทำงาน การประเมินความต้องการจําเป็น เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการกำหนดความแตกต่างระหว่างสภาพที่มุ่งหวังกับสภาพที่เป็นอยู่จริง และนําข้อมูลมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของความแตกต่างนั้น แล้วเลือกความต้องการจําเป็นที่สำคัญมาค้นหาสาเหตุและกำหนดแนวทางแก้ไข ผลที่ได้มาจากการประเมินความต้องการจําเป็นจะสะท้อนสภาพบริบทที่เกิดขึ้นของหน่วยงาน ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่นําไปสู่การวางแผน การกำหนดแนวทางพัฒนาหน่วยงานให้สอดคล้องกับสภาพที่เกิดขึ้น และสนองความต้องการของหน่วยงานนั้น ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสารสนเทศที่จะใช้เป็นหลักเทียบในการดําเนินงาน นํามาช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของการดําเนินงานให้มีความชัดเจนและมั่นใจว่าวัตถุประสงค์ดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการจําเป็นของหน่วยงานนั้นอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาพื้นฐาน. (2564). รายงานผลการบริหารและพัฒนา ทรัพยากรบุคคลประจำปี 2563. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 6 สิงหาคม 2564). จาก http://www2.osea2.go.th

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2547). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2556). แนวทางการพัฒนาครูในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 2(1), 27-32

ธีรฉัตร กินบุญ. (2545). เรื่องขวัญกำลังใจของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการประถมศึกษา อำเภออุบลรัตน์. สารนิพนธ์ กศม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพชร กล้าหาญ. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2545). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

มาโนช เพ็งอุบล. (2552). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวทิยาลัยราชภัฏหาดใหญ่.

มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. (2551). แนวคิดและหลักการบริหารคนเพื่อผลงาน = The people champion. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

สมิต สัชฌุการ. (2561). การสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน (วิธีการสร้างขวัญกำลังใจ) วิธีการสร้าง ขวัญกำลังใจ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 6 สิงหาคม 2564). จาก: https://www.tpa.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการปฏิบัติงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มบริหารงานบุคคล. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 6 สิงหาคม 2564). จาก https://psdg-obec.nma6.go.th

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Davis, Ralph C. (1964). Managerial Psychology. The University of Chicago Press.