การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อำนาจอธิปไตย วิชาสังคมศึกษา 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนปทุมพิทยาคม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) บูรณาการร่วมกับ Application Padlet

Main Article Content

เอกพล สาสังข์
รศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย โดยใช้ Application Padlet และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และ หลังด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย วิชาสังคมศึกษา 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมพิทยาคม ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 178 คน ตัวอย่างนักเรียนจากกลุ่มประชากร 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผนและแบบทดสอบปรนัยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติการวิจัยประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบลำดับพิสัยของ Willocxon ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตยโดยใช้ Application Pedlat โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล ก็พบว่านักเรียนมีระดับการพัฒนาการทุกคน โดยอยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูงมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน


คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; Application Padlet; การใช้อำนาจอธิปไตย; การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในแนวทางที่หลากหลาย. http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_KM/km-poster-2562-03.pdf

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2545). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ:

สำนักงานพัฒนา คุณภาพวิชาการ (พว.).

จักรชัย โสอินทร์. (2554). Basic Android App Development. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

ชุติมา ปาลวิสุทธิ์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรทิพย์ วงศ์สินอุดม. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุพเกียรติ วิริรมย์กูล. (2563). การวิจัยผลการจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชั่น เรื่องการสร้างเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนโปรแกรมเว็บ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุคนธีรวิทย์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 2550. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (Online). Available: http://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content10.html

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ:

ภาพพิมพ์.

สมบัติกาญจนรักพงค์; และคณะ. (2549). เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดขั้น สูง : กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนแบบสบเสาะหาความรู้ (5Es). Available: http://school.obec.go.th/nitade/data/Inquiry%20process.pdf.