การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี

Main Article Content

ชนกันต์ ทิพย์โภชนา
ประวิทย์ สิมมาทัน
ทรงศักดิ สองสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการทำงานการทำงานเป็นทีม โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกอนุทิน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4) แบบประเมินการทำงานเป็นทีม และ 5) แบบวัดความพึงพอใจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ


         ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ได้สร้างประสบการณ์ และสร้างพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการรับผิดชอบหน้าที่การทำงานเป็นทีม 2) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ( = 2.76, S.D. = 0.45) 3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมนักเรียนในส่วนของ ประเมินตนเองมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมสม่ำเสมอ ( = 2.91, S.D. = 0.28) และประเมินทีมมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมสม่ำเสมอ ( = 2.85, S.D. = 0.34) 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.34) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชชญา อังคุลี. (2564). Metaverse คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโลกการเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 14 ธันวาคม 2565). จาก https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=dGNBeTFPb1hSZUU9.

ชัยวัฒน์ ดุงศรีแก้ว. (2543). ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.

ธนาภรณ์ บุญเลิศ. (2561). การส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับเว็บสนับสนุนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีระวัฒน์ หัสโก. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมมือ เทคนิค TGT สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนบรบือวิทยาคาร. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

โรงเรียนผดุงนารี. (2565). ประวัติโรงเรียนผดุงนารี. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 ธันวาคม 2565). จาก http://www.phadungnaree.ac.th/school/index.php/2020-01-02-08-32-24/2-uncategorised/2-2020-01-02-08-31-10.

วัชรา รัตนศรี. (2561). การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Web Based Learning ที่เหมาะสมกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2562). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อิสระพงศ์ โสภาใฮ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยใช้การเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. Victoria: Deakin University.

Ricoh. (2020). ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและพนักงาน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 15 มกราคม 2566). จาก https://www.ricoh.co.th/features/increase-productivity-with-technology-employee-partnerships.

Siriraj_KM. (2020). การสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566). จาก www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/kmexperience/kmarticle/15325/.