การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อมาตรฐานการประกันคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อรทัย ฤทธิทิศ
สมชัย พุทธา
ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับมาตรฐานการประกันคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร และ3) ศึกษาการจัดการเชิง      กลยุทธ์ที่ส่งผลต่อมาตรฐานการประกันคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จำนวน 44 เขต โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และครู กศน.ตำบล รวมทั้งสิ้น จำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประยุกต์ตามแนวคิดของลิเคอร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบถดถอยพหุคูณ ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01


            ผลวิจัยพบว่า


  1. ระดับการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติการควบคุม กลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์และ การกำหนดทิศทางขององค์การ ตามลำดับ

  2. ระดับมาตรฐานการประกันคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การบริหารจัดการของสถานศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก และการส่งเสริมสนับสนุน การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

  3. การจัดการเชิงกลยุทธ์ส่งผลต่อมาตรฐานการประกันคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเขียนเป็นสมการถดถอย ดังนี้

            สมการพยากรณ์มาตรฐาน   Ẑ tot =.327 (Z5)+.298 (Z4)+.159 (Z3)+.104 (Z2)+.081 (Z1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรา พันพิพัฒน์ และคณะ. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 และ 2.วารสารชุมชนวิจัย , มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ,ปีปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2565). 163.

ชนกพร มนัส. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ,มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี.19.

เนตร์พัณณา ยาวิราช (2556).การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป , 2556.พิมพ์ครั้งที่ 8 (ปรับปรุงใหม่).

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552)

พรพิมล อุ่นเสียม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,จังหวัดสุราษฎร์ธานี.11.

ฤมล สอนดี และคณะ. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561.229.

วนิดา หรีกประโคน. (2563). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.52.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2565). นโยบายและจุดเน้นการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.ประกาศสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ,ประกาศ ณ วันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2565.

Edward Edgerton , and Jim Mckechnie. (2023). The relationship between student's perceptions of their school environment and academic achievement. Social Sciences, University of the West of Scotland, Paisley, United Kingdom.

Pornchai Jedaman and others.( 2020 ). Processing Participation Management forEnhancing Effectiveness Educational Quality to Sustainability. Solid State Technology Volume: X Issue: Y Publication Year.111.