การใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษา

Main Article Content

ลฎาภา คิมอิ๋ง
ภาวิณี เจริญศิริสุทธิกุล
อุบล มะระ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษา และ 2) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ทุกคนที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพด้านสุขภาพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบทดสอบและแบบประเมินเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย, และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 46.15 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 6.76 แต่ในขณะที่ก่อนการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 38.81 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 5.80  ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษาพบว่ามีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยถึง 7.34 และ 2) ผลประเมินเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษาอยู่ในระดับเกณฑ์ดีมากโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.16 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72  นอกจากนี้จากการรวบรวมข้อมูลการประเมินเจคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้แผนที่ความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความพบว่านักศึกษามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่านักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนที่ความคิดจึงสามารถคิดวิเคราะห์และออกแบบการเขียนแผนที่ความคิดได้ด้วยตนเองจึงเป็นเหตุให้นักศึกษาจดจำและเข้าใจข้อมูลสำคัญจากบทความที่อ่านได้จึงมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความที่ดีขึ้นหลังการใช้แผนที่ความคิด  อีกทั้งยังมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันอีกว่านักศึกษาสามารถนำการเขียนแผนที่ความคิดไปใช้ประโยชน์ได้กับรายวิชาอื่น ๆ จึงควรส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนการใช้แผนที่ความคิดกับนักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไป


 


คำสำคัญ: แผนที่ความคิด, การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ, เจตคติของผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศิริพรรณ ชาญสุกิจเมธี. (2561). แผนที่ความคิด: Mind Mapping. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 2 กรกฎาคม 2565). จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/403_18_4.pdf.

สุกานดา เปี่ยมบริบูรณ์. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนทีความคิด. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565). จาก https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2558/2558240240355.pdf.

ศุภโชค กำเนิดงาม. (2561). ความเป็นมาของ Mind Map. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565). จาก https://www.gotoknow.org/posts/427863.

Brandner, R. (2021). Why Mind Mapping?. (Online) (Retrieved July 8, 2022) from https://www.mindmeister.com/blog/why-mind-mapping/.

Draper, A. (2022). The 7 Types of Mind Map. (Online) (Retrieved July 18, 2022) from https://www.business2community.com/infographics/the-7-types-of-mind-map-you-need-to-know-about-infographic-02255971.

Engvid, J. (2017). How to use Mind Maps to understand and remember what you read! (Online) (Retrieved July 10, 2022) from https://www.youtube.com/watch?v=k1rwf370z5E.

Freeman, J. (2021). What is the Purpose of a Mind Map?. (Online) (Retrieved July 11, 2022) from https://www.edrawsoft.com/mind-map-purpose.html.

Guerrero, J. and Ramos, P. (2016). Mind mapping for reading and understanding scientific literature. (Online) (Retrieved July 11, 2022) from http://journalijcar.org/issues/mind-mapping-reading-and-understanding-scientific-literature.

Mohaidat, M. (2018). The Impact of Electronic Mind Maps on Students’ Reading Comprehension. (Online) (Retrieved July 11, 2022) from https://www.researchgate.net/publication/323736686_The_Impact_of_Electronic_Mind_Maps_on_Students'_Reading_Comprehension.