การพัฒนาความสามารถการจัดการตนเองด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการตนเองด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองเป้า จำนวน 14 คน ภาคเรียนที่ 2/2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก้บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถการจัดการตนเอง 3) แบบบันทึกภาคสนาม ได้แก่ แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัยพบว่า การวัดความสามารถการจัดการตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ นักเรียนมีคะแนนความสามารถการจัดการตนเองสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด กล่าวคือ นักเรียนมีคะแนนในการวัดความสามารถการจัดการตนเองผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีจํานวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในวงรอบที่ 3 ซึ่งเป็นวงรอบวิจัยวงรอบสุดท้ายมีคะแนนอยู่ระหว่างร้อยละ 70 - 100
Article Details
References
กฤษณะ มุขแก้วและคณะ. (2565). การวิเคราะห์สมรรถนะการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและองค์ประกอบของสมรรถนะที่จำเป็นของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7): 33-49.
จิดาภา พงษ์ชุบ. (2549). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โครงการโรงเรียนสองภาษาโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการนิเทศ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตรชัย ดวงแก้ว. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(75): 99-108.
นวลจันทร์ ตระกูลวางและคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 17(3): 117-128.
บังอร เสรีรัตน์. (2565). ครู กับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1): 1-11.
วิโชค พรหมดวงและคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาประลองด้วยการเรียนแบบนาตนเองสาหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(1): 142-155.
วิทยา วรพันธุ์และคณะ. (2559). รูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2): 31-46.
วีระชัย เขื่อนแก้วและคณะ. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบนำตนเองในการส่งเสริม
ทักษะปฏิเสธในเด็กวัยเรียน. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(2): 103-110.
สุทธิพร แท่นทองและคณะ. (2565 ). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ฟ
ร่วมกับการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนา,14(1): 30-40.
สุวัทนา สงวนรัตน์และคณะ (2564). หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในสถานศึกษา . วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(2): 351-364.
สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย. (2560) อิทธิพลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 30(2): 229-251.
อัจฉรา นิยมาภา. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ในศตวรรษที่ สังกัดกรุงเทพมหานคร 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(1): 50-63.
อนุชา ทาภักดี. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4): 301-313.
อารีย์รัตน์ โนนสุวรรณ. (2564). ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(3): 1065-1078.