การศึกษาความสัมพันธ์ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ระบบบริหารสถานศึกษาศธ.02 ออนไลน์ กับ ระบบวัดผล ของครูผู้สอนสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันเป็นยุคที่มุ่งเน้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลมาใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีความเจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)เพื่อศึกษาการใช้ระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์ ของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดศรีสะเกษ (2)เพื่อศึกษาการใช้ ระบบวัดผล ของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดศรีสะเกษ (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ ระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์ กับ ระบบวัดผล ของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือครูผู้สอนสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 186 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- การใช้ระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์ ของครูผู้สอนสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวม มีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับ มาก ด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุดคือ ด้านการบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้แก่ ครูผู้สอนสามารถบันทึกผลการเรียนแบบการบันทึกคะแนนเต็มในรายวิชาที่สอน ครูผู้สอนสามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลการเช็คชื่อผู้เข้าเรียนในรายวิชาที่สอนรองลงมาคือ ด้านการเข้าใช้งานระบบ ได้แก่ ครูผู้สอนสามารถเข้าใช้งานตามสิทธ์ของครูผู้สอนในส่วนของการเช็คชื่อเข้าเรียนในรายวิชาที่สอน ครูผู้สอนสามารถเข้าใช้งานตามสิทธ์ในเรื่องข้อมูลหัวข้อ/รายการที่สอน(Course Outline)ในรายวิชาที่สอน และด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านการรายงานข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนสามารถพิมพ์รายงานข้อมูลการเช็คชื่อผู้เข้าเรียนในรายวิชาที่สอน ครูผู้สอนสามารถพิมพ์รายงานผลการเรียนในรายวิชาที่สอน
- การใช้ระบบวัดผล ของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดศรีสะเกษ ข้อมูลโดยรวมของระบบวัดผลทั้ง 3 ด้าน มีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับ มากโดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ ความสามารถด้านการรายงานผล ความสามารถด้านการวัดผล และความสามารถด้านการประเมินผล
- การใช้ ระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์ โดยรวมมีความสัมพันธ์ กับ ระบบวัดผล ของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดศรีสะเกษ รวม 3 ด้าน อยู่ในระดับต่ำ โดยมีความสัมพันธ์กับ ความสามารถด้านการรายงานผล และความสามารถด้านการวัดผลในระดับต่ำ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านการประเมินผล
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง
กระทรวงศึกษาธิการ. ศึกษาคู่มือศธ.02 โปรแกรมงานทะเบียนและวัดผลการศึกษาสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (คำนำ).กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2554.
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือระบบงานวัดผลระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์. กรุงเทพฯ:
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2561.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรม
ออฟเซ็ท.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ . อุบลราชธานี :
สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
กฤษฎา แก้วผุดผ่อง (2558). สภาพการใช้ ปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารของบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล.นครปฐม:
มหาวิทยาลัยมหิดล
กรณ์สิณี ฐิติกรประภาพงศ์ (2558). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ต
ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในสถานการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 .วารสารวิชาการศิลปากร,8,3, น.1-13.
ณัฐพงศ์ แก้วรากมุข. (2563). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ
การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต3.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย พะเยา.
ภูเบศ นิราศภัย. (2563). สภาพและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ
บริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 33. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
Eleader. (2017). Digital transformation: Opportunities to create new
employeemodels. MIT Sloan Management Review, 58(2), 20-22.
Szafranski S.L. (2009). The relationship between technology use administrators
and technology use of teachers.Canada: Doctor of Education in
educational leadership University of Phoenix.
Crim, E. (2006). The Development of Professional Identity in Student Affairs
Administrators. Dissertation Abstracts International.
MITCHELL, L and MANSFIELD, B. 1988. Identifying and Assessing Underpinning
Knowledge : A Discussion Paper (Draft TAG Guidance Note) , Wakefield,
Barbara Shelborn Developments.