ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัล โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัล โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

Main Article Content

บุญวิทย์ ไชยช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม จำนวน 23 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถด้านการกำหนดยุทธศาสตร์ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม จำนวน 23 คน ระยะที่ 4 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มี   ส่วนได้ส่วนเสีย ( Stakeholders) จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร        แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม/การจัดสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


        ผลการวิจัยพบว่า


               การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม ศึกษาจาก 1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการ จากเอกสาร ตำราและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง  2) การศึกษาสภาพการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม 3) การศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนที่มีคุณภาพในการบริหารจัดการ (Best Practice) 4) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา      ในยุคดิจิทัล ผลการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ผลการประเมินความสอดคล้องของยุทธศาสตร์การพัฒนา     การบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับสอดคล้องมากที่สุด ผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม พบว่า มีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัลโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อยุทธศาสตร์ การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า ระดับความความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ผลการพัฒนาคุณภาพของครู ผู้เรียนและโรงเรียน พบว่า ผลงาน/รางวัลที่เกิดกับสถานศึกษา ครูและนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2562. (ออนไลน์) จาก http://www.obec.go.th.

เลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา: ระเบียบวาระแห่งชาติ(พ.ศ. 2551 - 2555). กรุงเทพ ฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

Bovee, Courtland and others. (1993). Management. New York : McGraw-Hill.