4 ฉากทัศน์อนาคตแห่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 4 future scenarios of political movement towards social change
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2516-ปัจจุบัน (2) เพื่อวางรูปแบบจำลองสถานการณ์ที่เป็นฉากทัศน์ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่สมัย พ.ศ 2516 จนถึงปัจจุบันโดยแบ่งช่วงเวลาของการศึกษาออกเป็น 3 บริบททางการเมือง ได้แก่ บริบทที่ 1 ช่วงบริบท พ.ศ.2516-พ.ศ.2539 บริบทที่ 2 พ.ศ.2540 -พ.ศ.2548 และช่วงบริบทที่ 3 พ.ศ.2549 - ปัจจุบัน โดยจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญหรือองค์ประกอบสำคัญของพัฒนาการในการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะต้องมีองค์ประกอบหลักที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองขึ้นได้แก่ 1.มวลชน 2.อุดมการณ์,สภาวะวิกฤต 3.การรวมกลุ่ม 4.ผู้นำและ 5.ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางสังคมซึ่ง 5 องค์ประกอบนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในรูปแบบต่างๆที่เป็นพัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ 2516 จนถึงปัจจุบัน และผู้วิจัยได้ศึกษาการวางรูปแบบจำลองสถานการณ์เป็นการฉายภาพฉากทัศน์ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยศึกษาจากพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีตและใช้ความคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) ในการวางรูปแบบฉากทัศน์ (Scenario) และวางรูปแบบจำลองสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของการเคลื่อนไหวทางการเมืองออกเป็น 4 ฉากทัศน์ ได้แก่ ฉากทัศน์ที่ 1 ฉากทัศน์การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบสังคมย้อนยุค ฉากทัศน์ที่ 2 การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบสังคมแนวการเคลื่อนไหวทางการเมืองแห่งการต่อต้านความไม่เป็นธรรม ฉากทัศน์ที่ 3 การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบต่อต้านอุดมการณ์ทางการเมือง และ ฉากทัศน์ที่ 4 การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อภาครัฐ ซึ่งแต่ละฉากทัศน์จะมีการประเมินเพื่อคัดเลือกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อฉากทัศน์มากที่สุดและนำปัจจัยที่สำคัญในการทำให้เกิดการขับเคลื่อนของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองขึ้น เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงผลกระทบของการเคลื่อนไหวของขบวนการทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เช่นกัน
คำสำคัญ : ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม; การเปลี่ยนแปลงทางสังคม; การเคลื่อนไหวทางการเมือง
Article Details
References
References
กิตตินันท์ วงษ์สุวรรณ.(2565).ขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาพ.ศ 2563-2564. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2549).การคิดเชิงอนาคต.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์-ซัคเซส มีเดีย จำกัด.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2549).การคิดเชิงเปรียบเทียบ.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์-ซัคเซส มีเดีย จำกัด.
ฉัตรชัย ธนาวุฒิ. (2559). การศึกษากระบวนการเพื่อการปฏิรูปทางการเมืองของ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2543). วิวัฒนาการการเมืองปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่: มูลนิธิไฮ นริคเบิลล์.สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประจักษ์ ก้องกีรติ.(2563).การชุมนุมของนักเรียน นักศึกษา และการเมืองไทย: ที่นี่ Thai PBS.ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จากhttps://www.youtube.com/watch?v =CcOPjxKgqn
ปรีดา เพ็ชราวรรณ. (2560). ขบวนการต่อสู้ของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง: กรณีศึกษา กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.). ดุษฎีนิพนธ์- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์. (2545). ม็อบกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยใน การเมืองไทยยุคสมัยใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย.
สำราญ นาบุตร. (2558). บทบาทในการใช้อำนาจของรัฐต่อผู้ชุมนุมทางการเมือง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำเนียง มณีฉาย. (2559). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2557. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2551). พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย.ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566, จากhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%B1 %E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0 %B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8 %B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7 %E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0 %B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9 %84%E0%B8%95%E0%B8%A2
เสกสรร ประเสริฐกุล. (2557). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย (พิมพครั้งที่4).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ.(2563). 10 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง:มองเมษา-พฤษภาคม 53 ผ่านวาทกรรมจำไม่ลง.ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566, จาก http://www.bbc.com/thai/thailand-52614304