การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นถิ่นเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู ชุด ถวยศรัทธาสมมาครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นถิ่นเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู ชุด ถวยศรัทธาสมมาครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นถิ่น ชุด ถวยศรัทธาสมมาครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ผลงานนาฏศิลป์พื้นถิ่น ชุด ถวยศรัทธาสมมาครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม เป็นงานวิจัยและพัฒนา และนำเสนอในแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงชุด ถวยศรัทธาสมมาครู คือครูผู้มีหน้าที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ พัฒนาศักยภาพของนักเรียนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ หล่อหลอมบรรดาผู้เป็นศิษย์ให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพตามหลักคุณธรรมจริยธรรม กอปรประโยชน์ทั้งด้านวิชาการและการดำรงชีพ พิธีไหว้ครูหรือการรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ซึ่งในพิธีไหว้ครูจะประกอบไปด้วยพิธีปฏิญาณตน กล่าวถึงคำระลึกพระคุณครูบาอาจารย์ ตลอดจนมีการทำพานเพื่อมอบให้ครูเป็นเครื่องบูชาคุณ โดยใช้ดอกเข็ม ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก แทนความหมาย ท่ารำนาฏยลักษณ์ของการแสดง กำหนดกระบวนท่าฟ้อนรำตามทำนองและคำร้อง โดยใช้กระบวนท่าฟ้อนรำแบบเดียวกัน ซึ่งจะปรากฏท่าฟ้อนรำที่เป็นนาฏยลักษณ์ในฟ้อนถวยศรัทธาสมมาครู 4 ท่า ดังนี้ ท่าดอกมะเขือ ท่านอบน้อม ท่าดอกเข็ม และท่าหญ้าแพรก การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย มีแรงบันดาลใจมุ่งสื่อความหมายโดยนัยผสมผสานกับอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้ ผู้แสดงหญิงจะสวมเสื้อลูกไม้คอตั้งสีขาว ห่มสไบสพักตร์ด้วยผ้าสีทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และติดเข็มกลัดตราพระราชลัญจกรบริเวณอกด้านซ้าย นุ่งผ้าถุงลายลง (ลายล่องแบบอีสาน) ต่อเชิงที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น (ซิ่นคั่นต่อตีนโยง) แสดงให้เห็นถึงความเป็นพื้นถิ่นและอัตลักษณ์ของการแต่งกาย ผู้แสดงชาย สวมเสื้อราชปะแตนสีขาว ติดเข็มกลัดตราพระราชลัญจกรบริเวณอกด้านซ้ายเช่นเดียวกันกับผู้แสดงหญิง และนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าทอลายลูกแก้วของพื้นถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ การสร้างสรรค์เพลงและดนตรี ใช้อัตราจังหวะช้าและมีการขยับจังหวะขึ้นมาเล็กน้อย (จังหวะปานกลาง) บรรเลงสลับกัน 3 ทำนอง คือ ทำนองขับงึม ทำนองเพลงลูกทุ่ง และทำนองขับทุ้มหลวงพระบาง ใช้วงดนตรีพื้นบ้านอีสานบรรเลง (วงโปงลาง) คีตลักษณ์ นำเสียงจากดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของทั้ง 4 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษมาผสมผสาน ได้แก่ สไนง์จากกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ซอกันตรึมจากกลุ่มชาติพันธุ์เขมร ปี่สะเองจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วย และแคนจากกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อุปกรณ์ประกอบการแสดง โดยมุ่งเน้นให้อุปกรณ์การแสดงมีความสอดคล้องกับการแสดงและการสื่อความหมายโดยนัยของวัสดุต่าง ๆ ในรูปแบบกรวยดอกไม้ธูปเทียน มีผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่ามีผลประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55 , S.D. = .47)
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
จีรวัฒน์ ศรีชัยชนะ. (2554). แนวทางการสืบทอดและพัฒนาการขับงึม เมืองทุละคม แขวงเวียงจันทน์ ประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉลาด ส่งเสริม. (2566). การขับร้องหมอลำ คำร้อง ทำนอง และกลอนลำ. ศิลปินแห่งชาติ. 5 มิถุนายน 2566.
ธีรเดช ธีรเลิศนาม. (2566). ดนตรีพื้นบ้านและการประพันธ์เพลง ทำนอง. นักดนตรีอิสระ. 16 มกราคม 2566.
ธรชญา ภูมิจิโรจ. (2560). นาฏยประดิษฐ์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
____________. (2561). นวัตกรรมนาฏยศิลป์พื้นบ้านมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ชุดฟ้อนราชภัฏอุบลยลศิลป์ถิ่นราชธานี. คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พรสวรรค์ พรดอนก่อ. (2566). ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน. อาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร. 16 มกราคม 2566.
วิระสิทธิ์ สุขสมชิต. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาศิลปะการแสดงละครชาตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตศึกษา สาขาการบริหาร
ศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศากุล เมืองสาคร . (2557). นาฏยลักษณ์การแสดงระบำของนาฏศิลป์สวนสุนันทา ตั้งแต่ปี พ.ศ 2541 – พ.ศ 2553. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2546). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.