ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม

Main Article Content

จุฑามาศ โถรัตน์
จุลดิศ คัญทัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ปัจจัยของโรงเรียนสมรรถนะสูง ปัจจัยของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูง และแนวทางการพัฒนาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูง กลุ่มตัวอย่างคือครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม จำนวน 285 คน วิธีการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อพัฒนาแนวทางในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูง


               ผลการวิจัยพบว่า ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความก้าวหน้าในการทำงาน รองลงมาคือ ความสำเร็จในการทำงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านปัจจัยของโรงเรียนสมรรถนะสูงในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาบุคลากร รองลงมาคือ การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และมาตรฐาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมอบหมายภาระงาน และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .854 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ได้สมการพยากรณ์คะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zy = (0.425X5 + 0.129X7 - 0.097X8 + 0.372X9 + 0.180X10) เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านนโยบายต่างๆในการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านความน่าสนใจในลักษณะงาน ด้านการได้รับความสำคัญ การเป็นที่ยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบในงาน แนวทางการพัฒนาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามมีทั้งหมด 5 ด้าน 12 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ปานประดิษฐ์. (2563). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 117-118.

จตุพร งามสงวน. (2561). รูปแบบการพัฒนาองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จรัสศรี ฮะฮวด. (2561). ตัวบ่งชี้สถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 6(2), 19-26.

ชลธิชา บุนนท์. (2564). การศึกษาองค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัสรินญา ผ่องแผ้ว. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบการทำงานเป็นทีมที่มีสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปิยวรรณ เกษดี และ บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.

ปุญชรัศมิ์ เหมบุรุษ. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษที่ ส่งเสริมการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(2), 269-281.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

พสุ เดชะรินทร์. (2553). การวางแผนและการกําหนดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มยุลี ปันทะโชติ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์คร้ังที่ 1). กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.

วินุลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรารัตน์ งันลาโสม. (2563). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2562). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์การสมรรถนะสูงโดยใช้พลังร่วมเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 102-223.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.). (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. (2565). รายงานข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน. สืบค้นจากระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา (EMIS).

Craig, Jim, and Others. (2005). A Case Study of Six High-Performing Schools in Tennessee. Appalachia Educational Laboratory (AEL) at Edvantia, Washington, DC: U.S. Department of Education.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychogical Measurement. NewYork: n.p.

Likert, R. (1967). The human organization: its management and values. McGraw-Hill.

Murtedjo and Suharningsih. (2016). Contribution to Cultural Organization. Indonesia: State University of Surabaya Indonesia.

Nicole Richman. (2015). Human Resource Management and Human Resource Development. Evolution and contributions Creighton Journal of Interdisciplinary Leadership.

Patricia, J. Kannapel, and K. Stephen, Clements. (2005). Inside the Black Box of High Performing High-Poverty Schools. Lexington: Kentucky.

Shannon, G.S., and P. Bylsma. (2007). The Nine Characteristics of High-Performing Schools: A Research-Based Resource for Schools and Districts to Assist with Improving Student Learning (2nd ed.). Olympia, WA: OSPI.