วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต1

Main Article Content

ปริญญา สมตัว
สุมิตรา ยาประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับวิสัยทัศน์ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 3) ศึกษาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 327 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ และด้านการมอบอำนาจ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และรายด้านอยู่ในระดับมากและปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ  ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ  ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และ ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน 3) วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มี 5 ด้าน คือ การสร้างวิสัยทัศน์ การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ การเป็นแบบอย่างที่ดี การมอบอำนาจ สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา โดยรวมได้  ร้อยละ 61.6 สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานคือ ร้อยละ 61.6 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ   = 0.192x1+0.391x2


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. (2555). ผลกระทบของการสร้างความรับผิดชอบทางการศึกษาต่อสัมฤทธิผลของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ทองอินทร์ ปัญญานาค. (2556). แนวทางพัฒนาการนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ข้างฟ่าง.

พงศพัศ ทองคำ. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนราชประชาสมาสัยฝ่ายมัธยมรัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ในแก่นการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2553). กรณีศึกษาภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: เรดเฟิร์นครีเอชั่น.

สมชาย เทพแสง. (2552). ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ รูปแบบใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 6(11), 83-95.

สุคนธ์ เฮ็งสันเทียะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สมุทรปราการ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต1.

อภิญญา ดีประทีป. (2559). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การภายหลังการควบรวมธนาคารจากปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ การสื่อสารในองค์การ และการมอบอำนาจในองค์การที่ส่งผ่านความเครียดในบทบาทหน้าที่. ดุษฎีนิพนธ์ (บริหารธุรกิจ) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาทิตยา สุขประเสริฐ. (2558). วิสัยทัศน์เมืองน่าอยู่และยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชนในเขตตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา), จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Dubrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. South-Western: Cengage Learning.

Fisher, K. (1993). Leading Self – Directed Work Teams : A Guide to Developing New Team Leadership Skill. New York: McGraw – Hill.

Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. (1959). The Motivation to work (2nded.). New York: Johniley and Sons.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Leithwood, K. A. and et al. (1999). A Century Quest to Understanding School Leadership. San Francisco: Jossey Bass.

Nanus, B. R. (1992). Visionary Leadership. San Francisco : Jossey – Bass.

Sashkin, M. (1988). “The Visionary Leader,” In Charlsmatic Leadership : The Elusive Factor in Organizational Effectiveness. Conger, J. A. and Kanango, R. N., Editor. P122 – 160. San Francisco : Jossey – Bass.

Westley, F. and Mintzberg, H. (1989). Visionary Leadership and Stategic Management. Strategic Management Journal, 10(S1), 17-32.

Wilmore, E. L. (2002). Principal Leadership : Applying the New Educational Leadership Constituent Council (ELCC) Standards. Thousand Oak, California : Corwin.

Zaccaro, S.J. and Banks, D. (2004). Leader Visioning and Adaptability : Bridging the Gap between Research and Practice on Developing the Ability to Manage Change. Human Resource Management, 43(4), 367-380.