แนวทางเสริมสร้างการบริหารงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี

Main Article Content

วรวลัญซ์ คำเที่ยง
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-testและวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของ โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมและด้านประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัญหาการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มีค่าความถี่มากที่สุดแต่ละด้าน คือ ครูขาดแรงจูงใจในการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารขาดการดูแลการมีส่วนร่วมและการให้คำแนะนำครูในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้บริหารจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีการสอนไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา ผู้บริหารขาดการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและผู้บริหารขาดทักษะการใช้เครือข่าย สื่อ Social Media ในการสร้างเครือข่ายกับองค์กรอื่นๆ ผู้ปกครองและนักเรียน 4) แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา ผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการบริหารวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมให้ครูพัฒนาทักษะการใช้สื่อ นวัตกรรม แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการเรียนรู้ และดำเนินการนิเทศ ติดตาม เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำและให้กำลังใจครูและบุคลากรทางการศึกษา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ สุอารี, รุจิร์ ภู่สาระ และภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 8(2), 75.

เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565). จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง), สุนทร สายคำ และประจิตร มหาหิง. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Modern Learning Development Center. 6(1), 264-276.

ไพบูลย์ วงค์เมืองคำ และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 52-63.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล.(2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 143-160.

มานพ จันทร์ศรี และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). แนวทางพัฒนาการบริหารระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศในกลุ่มโรงเรียนคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), 89-99.

วิชิต อ่อนจันทร์ และ ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), 100 -108.

สุนิรันดร์ รุ่งเรืองรณชัย และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ของจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 14(1), 76-92.

อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 173–184.

อรนิตย์ สุวรรณไตรย์, ชวนคิด มะเสนะ และอัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธาน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 10(1), 108.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.