การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือ โดยใช้กิจกรรมวอร์คแรลลี่ ของครูโรงเรียนวัดปากคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนวัดปากคู 2) พัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือของครูโรงเรียนวัดปากคู และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือของครูโรงเรียนวัดปากคู โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด ดำเนินการ 1 วงรอบและใช้รูปแบบกิจกรรมวอร์คแรลลี่ในการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดปากคูจำนวน 9 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาจำนวน 8 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.50-1.00 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจจำนวน 40 ข้อมีค่าความยากง่าย 0.50-0.75 ค่าอำนาจจำแนก 0.50-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 แบบประเมินสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือจำนวน 20 ข้อมีอำนาจจำแนก 0.40 - 0.95 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 15 ข้อมีค่าอำนาจจำแนก 0.27-0.94 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนวัดปากคู การวางแผนการจัดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วนตามหลักสูตร ยังไม่มีการขอตั้งกองลูกเสืออย่างเป็นทางการ ครูมีทักษะการปฏิบัติในเรื่องของพิธีการที่ไม่ชัดเจนและยังไม่มีการดำเนินการเรื่องของการเงินลูกเสือ 2) ผลการพัฒนาสมรรถนะการ บริหารงานลูกเสือในโรงเรียน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 36.67 สูงกว่าก่อนการอบรม มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 12.56 และทักษะการปฏิบัติงานลูกเสือโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.12 อยู่ในระดับมาก และ 3) ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือโดยใช้กิจกรรมวอร์คแรลลี่ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.29 อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กิติยา แก้วผุดผ่อง และคณะ. (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานกิจกรรมเกี่ยวกับลูกเสือในโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสถาบันการศึกษาในขั้นพื้นฐานพุนพิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 . การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรามหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาในขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สำนักงาน. (2551). พระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ.
ปริตา พืชผล. (2563). การพัฒนาการบริหารงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนเวียงสระสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรามหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
รวิ เต็มวนาวรรณ. (2563) การบริหารงานลูกเสือกลุ่มโรงเรียนทับใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2. วิทยานิพนธ์ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งทิวา มากสุก. (2552). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วีรนุช พิสมัย. (2563). การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี.
ศุภวัฒน์ เทียมศรีรัชนีกร. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถาบันการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมคุณสมบัติอันต้องการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุรศักดิ์ ทิวากร. (2562). การนำและการจัดการลูกเสือที่ดีของผู้บริหารโรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางในการจัดสรรกิจกรรมในการพัฒนาตัวผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาในขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อุทัย ภู่เจริญ. (2564). การศึกษาสร้างคน คนสร้างประเทศชาติ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed.. Victoria: Deakin University.