ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการฝึกปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศักดิ์ชัย ศรีจูมพล
สมชาย พาชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลัง เรียน 2) ศึกษาทักษะการฝึกปฏิบัติกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 โสกคูณ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.32 - 0.59  ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 - 0.67 และค่าความเชื่อมั่น 0.87 3) แบบประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน RAI = 0.83 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของ แฮร์โรว์ เรื่อง ดนตรีสากลขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012. ผลการศึกษาทักษะการฝึกปฏิบัติ วิชาดนตรี เรื่อง ดนตรีสากลขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระศิลปะ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จริยา อันเบ้า, พิทยวัฒน์ พันธะศรี, และ สมาน เอกพิมพ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติฟ้อนออนซอนสาดบ้านแพง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดของแฮร์โรว์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 101-116.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2554). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เยาวนา สิทธิเชนทร์ (2560).การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ ของแฮร์โรว์ เรื่องงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี

พันธุ์เอก ใจหลวง. (2558).การพัฒนาชุดการสอน เรื่องทฤษฎีดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาวิชาเอกดนตรีสากล ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

พุฒิญา อาจหาญ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ แฮร์โรว์ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติรำวงมาตรฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 214-224.

ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม ประสานการพิมพ์.

โรงเรียนเทศบาล 1 โสกคูณ. (2565). ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนเทศบาล 1 โสกคูณ. โรงเรียนเทศบาล 1 โสกคูณ.สังกัดเทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Harrow, A.J. (1972). A taxonomy of The Psychomotor Domain. New Yok: David Mckay.