สภาพการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

Main Article Content

ชนากานต์ นุริตานนท์
ประกาศิต อานุภาพแสนยากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน โดยจำแนกตามตำแหน่งประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวมผู้บริหารที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 83 คน และครูได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ตามขนาดโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 268 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 351 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การวิเคราะห์สภาพการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยจำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน ควรจัดหาเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกต่อการรวบรวมข้อมูล จัดบริการข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพและการศึกษา การจัดให้คำปรึกษาควรครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา อาชีพ และสังคม การจัดวางตัวบุคคลในรูปแบบวิธีการที่หลากหลาย และควรมีการติดตามผลเพราะจะทำให้ครูแนะแนวมีข้อมูลในการประเมินการดำเนินการช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประกาศิต อานุภาพแสนยากร, คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

References

คฑาวุธ ขันไชย. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. CMU Journal of Education, 2(2), 1-22.

คณิศร์ จับจิตต์. (2561). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวไลยอลงกร์ปริทัศน์ (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 1-12.

จักรเพชร วรสินธ์. (2561). ภาวะผู้นำการบริหารงานแนะแนวของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. CMU Journal of Silpakorn, 12(4), 140-161.

จีราภรณ์ การสูงเนิน. (2561). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารการบริการงานแนะแนวของโรงเรียนอสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 5(1), 69-88.

พชรกมล เปียดี. (2563). การบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตอำเภอชัยบาดาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษชลบุรี เขต 2. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 8(2), 242-250.

พิสิษฐ์ จริยเอกวิทย์. (2559). กาารบริหารระบบการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ลลิตา แขกรำ. (2564). ความพึงพอใจของครูที่มีต่องานแนะแนวในสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตรัช โยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร, CMU Journal of Roikaensarn Academi. 6(3), 132–144.

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. (2565). บริการแนะแนวและให้คำปรึกษา. ออนไลน์. (สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564). จาก https://www2.s-tech.ac.th/st_consult.php.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2564). นโยบายและขับเคลื่อนงานพัฒนาเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ 2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.