แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

Main Article Content

สุภาวดี ศรีมูลผา
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3  2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกโดย เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3  3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 298 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางของเครชซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบกำหนดคำตอบให้เลือก และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาแบบ t-test, F-test และการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 แบ่งออกเป็น 10 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกระตุ้นวิสัยทัศน์  ผู้บริหารสถานศึกษากระตุ้นวิสัยทัศน์ร่วมกันบุคลากร เพื่อตกย้ำ หรือทบทวนความคิดในการมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร2) ด้านการสร้างพลังเชิงบวก ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างหลักการทั้งเชิงบวก เชิงรุกและสร้างการยอมรับ สร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญกำลังใจ 3) ด้านการมีวิญญาณของความเป็นเด็ก ผู้บริหารสถานศึกษามีเข้าใจความเป็นเด็ก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโลกในแง่ดี  4) ด้านการสร้างความเข้าใจกับคน Gen ใหม่ (Generation Y) ผู้บริหารในอนาคตจะต้องมีทักษะการสื่อสารที่ช่วยให้คนทำงานรุ่นเก่าสามารถแบ่งปันประสบการณ์ และความรู้ให้กับคนทำงานรุ่นใหม่ 5) ด้านการเป็นผู้นำแบบจิตวิญญาณ ผู้บริหารสถานศึกษามีค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมที่เป็นแรงจูงใจ ส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง 6) ด้านการสร้างความรู้ใหม่ และทำลายความรู้เก่า ผู้บริหารมีความสามารถในการเรียนรู้ โดยสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ 7) ด้านการเร่งสร้างวัฒนธรรมความสุขของสถานศึกษา ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมความสุขที่ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการทำงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเกิดผลดีกับบุคลากร และส่งผลดีต่อสถานศึกษา 8) ด้านการใช้ทักษะด้านการคิดอย่างเป็นระบบ  ผู้บริหารสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย และดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9) ด้านความฉลาดในการบริหารสถานศึกษาท่ามกลางความหลากหลาย  ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดกฎ ระเบียบ กติกาขององค์กร มองเห็นได้ถึงความลึกซึ้งของปัจเจกบุคคล 10) ด้านการสร้างฐานของการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้บริหารสถานศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพลเมืองของโลกมีแนวคิดที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติความสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตามลำดับgif.latex?\bar{x}

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขต ทวารวดีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ และพงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50.

ไพบูลย์ วงค์เมืองคำ และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 52-63.

ภานุเดช แสงลุน และดร. ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(41), 175.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล.(2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษา เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 143-160.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2562). การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานความรู้ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นครู สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 16(2),55-67

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง และและนิรันดร์จุลทรัพย์. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตรัง กระบี่. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำการดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขต บ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ละมูล เหล่าทอง และ ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล.(2563). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 79-92.

สมพร ทรงจอหอ, ธีระ รุญเจริญ, และจีรนาถ ภูริเศวตกำจร. (2563). การศึกษาลักษณะภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ออระญา ปะภาวะเต และ บุญชม ศรีสะอาด. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(4), 191.

Crompton, H. (2018). Education Reimagined : Leading Systemwide Change with the ISTE Standards. International Society For Technology in Education. USA.