ผลการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุทธสิริโสภา จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึก 2)แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 - 0.67 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.65 และค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.83 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบตกผลึกเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test แบบ ไม่เป็นอิสระต่อกัน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัด การเรียนรู้แบบตกผลึกหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ75อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2)ความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กมลวรรณ บุตรน้อย. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรกฏ ลำไยและคณะ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
แทน ไพรสิงห์. (2558). การจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาวรรณ ขาวผ่อง. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา – วิจัยการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้ง 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา = Educational research. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
โรงเรียนสุทธสิริโสภา. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2565โรงเรียนสุทธสิริโสภา. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. 2nd ed. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). เอกสารประกอบการสอนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์.
สมบัติ ศิริจันดา. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
อมรรัตน์ วัฒนาธร. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบตกผลึกในระดับบัณฑิตศึกษา (Crystal-based Approach in Graduate Level). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.