ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษา ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ขับเคลื่อนภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) เพื่อศึกษาถึงการยอมรับของชุมชนต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของชุมชนของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล ในฐานะผู้เป็นแบบอย่างของผู้บริหารการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการบำนาญ ตัวแทนชุมชนในพื้นที่ที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 และบุคลากรสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ร่วมงานและมีปฏิสัมพันธ์กับ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ที่นำมาใช้ในการบริหารงาน คือ การยึดหลัก การครองตน ครองคน และครองงาน ส่วนปัจจัยที่ขับเคลื่อนภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล พบว่า มี 7 ปัจจัย คือ 1) ความยุติธรรม 2) การแบ่งปันอำนาจ 3) การมุ่งเน้นการดูแลบุคลากร ใส่ใจดูแล ให้ความช่วยเหลือ 4) การแนะแนวด้านจริยธรรม 5) การใส่ใจความยั่งยืน 6) การชี้แจงบทบาท และ 7) ความซื่อสัตย์ และด้านการยอมรับของชุมชนต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของชุมชนของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล คือ การมีน้ำใจ เป็นกันเอง เข้าถึงง่าย และไม่ถือตัว
Article Details
References
กันยมาส ชูจีน, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, สุภมาส อังศุโชติ และรุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 20-33.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นวรัตน์ ไวชมภู และรพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ .(2560). วิถีครองคน: พรหมวิหาร 4 สำหรับผู้บริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์และสังคมศาสตร์, 4(1), 105-113.
นีออน พิณประดิษฐ์. (2555). จริยธรรม:ทฤษฎีและรูปแบบการพัฒนา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). โรงเรียน:การบริหารสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
ศิริพร สิทธิศรี, สุชาติ บางวิเศษ และสุขุม พรมเมืองคุณ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเลย.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(87), 79-88.
สุบัน มุขธระโกษา, ศศิรดา แพงไทย และเอกอนันต์ สมบัติสกุลกิจ. (2561). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 453-461.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำอางค์ จันทนนตรี และสุวิน ทองปั้น. (2560). พุทธธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารธรรมทรรศน์, 17(1), 221-233.
อธิปไตย โพแตง และชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2559). การสะสมความรู้ในตัวคนเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของแรงงานในสถานประกอบการ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26(2), 299-307.
Brown, M. E., Trevino, L.K. and Harrison, D.A. (2006). Ethical leadership: A review and future directions. The Leadership Quarterly. 17, 595-616.
Kalshoven, K. et al. (2011, February). Ethical leadership at work questionnaire (ELW): Development and validation of a multidimensional measure. The Leadership Quarterly, 22 (1), 51-69.
Northouse, P.G. (2007). Leadership: Theory and Practice. (4th Edition), Sage, Thousand Oaks.
Resick, C. J. et al. (2006, February). A cross-cultural examination of the endorsement of ethical leadership. Journal of Business Ethics, 63 (3), 345-359.