การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนท่าศาลา

Main Article Content

บุญธิดา เทวาพิทักษ์
จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์
กัญญา สมบูรณ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน


โรงเรียนท่าศาลา


The Research for Development of TEAK MODEL for Driving Process
in Professional Learning Community of Thasala School


ดร.บุญธิดา เทวาพิทักษ์1  ผศ.ดร.จักรปรุฬห์  วิชาอัครวิทย์.2  ดร.กัญญา สมบูรณ์3


Dr.Boontida Thewasit 1 Assistanece Professor Dr.Chakparun  Wichaakkharawit2 Dr.Kanya Somboon3


                             


1ผู้อำนวยการ โรงเรียนท่าศาลา


Director of Thasala School


e-mail: boon.thewa@gmail.com โทร. 097-9219612


2อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์


Lecturer of Faculty of Education, Nakhon Sawan Ratjabhat University


e-mail: dr.chaparun@gmail.com โทร. 098-9516297


3 ผู้อำนวยการ โรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์


Director of Pangmaphapittayasan School


e-mail: nine_kanya@hotmail.com โทร. 081-9523570


 


บทคัดย่อ


 


การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยใน  ชั้นเรียน 2) นำเสนอการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน 3) ศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนและ 4) ประเมินผลการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนท่าศาลา จำนวน 15 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับสอบถามความคิดเห็น 5 คน และการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน และ3) ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม  แบบบันทึกการวิจัยในชั้นเรียน และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนท่าศาลาจากการสังเคราะห์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยเกี่ยวข้อง และการสอบถาม ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ร่วม 2) การร่วมมือ รวมพลัง 3) การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน 4) การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ 5) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน

  2. นำเสนอการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา พบว่าการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา 5 ด้าน เรียกว่า “SCEPS” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) การร่วมมือ รวมพลัง (Collaboration) 3) การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) 4) การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development 5) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure)

  3. ผลการทดลองใช้การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับดังนี้ การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน โครงสร้างสนับสนุนชุมชน วิสัยทัศน์ร่วม และการร่วมมือ รวมพลัง การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ

          4. ประเมินผลการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลาพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และความถูกต้องอยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ: ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ, วิจัยในชั้นเรียน, โรงเรียนท่าศาลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2566). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี 2566. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มสธ. 10 (1): 34-41.

ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม (2553), การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน

ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต), คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล, และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพากรุงเทพมหานคร. วารสาร OJED. 9 (3): 392-406.

โรงเรียนท่าศาลา.(2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนท่าศาลา.เชียงใหม่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 14.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5thed). New York: Harper & Row.

Hord, S. M., Roussin, J. L, & Sommers, W. A. (2009). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Thousand Oaks, CA: Corwin.

Thompson, S. C., Gregg, L., and Niska, J. M. (2004) Professional learning communities, leadership and student learning. RMLE Oriline, 28(1), 1-15.

Vescio, Ross & Adam. (2008). A Review of Research on the Impact of Professional Learning Communities on Teaching Practice and Student Learning. Teaching and Teacher Education: An International Journal of Research and Studies, 24(1): 80-91.