กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านความฉลาดทางดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

กำเพลิง พันธุ์ดี
วินัย ทองภูบาล
สมาน อัศวภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาครูด้านความฉลาดทางดิจิทัล เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาครู และเพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาครู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงาน รวม 160 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาครูด้านความฉลาดทางดิจิทัล โดยสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น 3 อันดับแรก คือ การรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ การรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ และการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณที่ดี กลยุทธ์การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาความรู้ด้วยตัวเองด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาการรู้เท่าทันและการรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ด้วยการฝึกปฏิบัติ ด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้วยการฝึกอบรม ด้านกลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายดิจิทัล ด้วยการนิเทศแบบมีส่วนร่วม และด้านกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นต้นแบบด้านดิจิทัลด้วยการให้การปรึกษาแนะนำ ส่วนผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาครู พบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ธนวัฒน์ เจริญษา. (2564). ความฉลาดทางดิจิทัลกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(2), 21-29.

นิตยา นาคอินทร์ (2563). 8 ทักษะ “ความฉลาดทางดิจิทัล” ของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่การเป็นพลเมือง 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(1), 5.

ปณิตา วรรณพิรุณ และนำโชค วัฒนานัณ. (2560). ความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา,

(34), 12-20.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และคณะ. (2661). เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิตอล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 22-31.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

ลัดสะหมี พอนไซ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2562). ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

สมยศ นาวีการ. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991.

สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 30 สิงหาคม 2565. จาก https://www.kruachieve.com

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อติพร เกิดเรือง. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลเพื่อการประเมินผลนโยบายสาธารณะ.วารสารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 35(2), 174-183.

DQInstitute. (2017). Digital Intelligence. (Online) (Cited March 10, 2022). from https://www.dqinstitute.org

Park, Y. (2017). 8 digital life skill all children need-and a plan for teaching Them. (Online) (Cited March 10, 2022). from https://www.weforum.org