การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในลำดับการสอน คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กัลยกร อนุฤทธิ์

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความเข้าใจเชิง


มโนทัศน์ในลำดับการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) เพื่อศึกษาความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในลำดับการสอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และการลำดับการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์


ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ผลวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในลำดับการสอนคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 โดยมีค่าเฉลี่ย 81.66 / 86.66 (2) ความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในลำดับการสอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ นักศึกษามีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในลำดับการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสูงกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ (3) ความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และการลำดับการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด นักศึกษามีความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และการลำดับการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับดีมาก ( =16.15, S.D.=1.42)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

(ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชน

สหกรณ์และการเกษตรแห่งประเทศไทย

Blomhøj, M., and Jensen, T. H. (2003). Developing mathematical modeling competence:

Conceptual clarification and educational planning. Teaching Mathematics and Its

Applications, 22(3), 123–139.

Engeström, Y. 2001. Expansive Learning at Work: Toward an activity theoretical

reconceptualization. Journal of Education and Work 14 (1):133-156.

LEE, H.-J. (2007). Developing an Effective Professional Development Model to Enhance

Teachers’ Conceptual Understanding and Pedagogical Strategies in Mathematics.

The Journal of Educational Thought (JET) / Revue de La Pensée Éducative, 41(2),

–144.

Skemp, R. R. (1976/2006). Relational understanding and instrumental understanding.

Mathematics Teaching in the Middle School, 12(2), 88–95. Originally published in

Mathematics Teaching. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/41182357.

Simon, Martin A. “Explicating Mathematical Concept and Mathematical Conception as

Theoretical Constructs.” Educational Studies in Mathematics 94, No. 2 (2017): 117-

Singer, F. M., & Voica, C. (2012). A problem-solving conceptual framework and its implications

in designing problem-posing tasks. Educational Studies in Mathematics, 83(1), 9-26.

Thompson, Patrick. (2008). Conceptual analysis of mathematical ideas: Some spadework at

the foundation of mathematics education. Proceedings of the Annual Meeting of

the International Group for the Psychology of Mathematics Education. 1.