กลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบ ตามแบบล้านนาวิถีในจังหวัดเชียงใหม่ กลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบ ตามแบบล้านนาวิถีในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบ 2) สร้าง กลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบ 3) การใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบ 4) เพื่อตรวจสอบกลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบตามแบบล้านนาวิถีในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงวัยที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงวัยต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่ 5 แห่ง ๆ ละ 30 คน รวม 150 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกเอกสาร แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบประกอบด้วย 4 ด้านคือ 1) คณะกรรมการ 2) การบริหารจัดการ 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิก 4) การจัดกิจกรรม
- กลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบมีองค์ประกอบคือ 1) SWOT 2) วิสัยทัศน์ 3) พันธกิจ 4) วัตถุประสงค์ 5) กลยุทธ์ 4 ด้านคือคณะกรรมการ การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของสมาชิกและการจัดกิจกรรม
- ผลการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบพบว่ามีการดำเนินการดังนี้คือ 1) ด้านคณะกรรมการ 6 รายการ 2) ด้านการบริหารจัดการ 11 รายการ 3) ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก 5 รายการ 4) ด้านการจัดกิจกรรม 5 รายการ
- การตรวจสอบกลยุทธ์การบริหารจัดการชมรมผู้สูงวัยต้นแบบตามแบบล้านนาวิถีพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงวัย. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงวัย.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(2559). ประชากรสูงอายุอาเซียน. เอกสารประมวลสถิติด้าน สังคม. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์.
คณะกรรมการผู้สูงวัยแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงวัยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
บรรลุ ศิริพานิช และคณะ. (2542). ผู้สูงวัยไทย. กรุงเทพฯ: สภาผู้สูงวัยแห่งประเทศไทย.
พันนิภา บุญจริง(2557). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชมรมผู้สูงวัย ตำบลธาตุน้อยอำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ภัทรพรรณ ทำดี. (2560). อัดลักษณ์ เงื่อนไขวัฒนธรรมสังคมเพื่อศักยภาพสูงวัยของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 109-131.
มานิตย์ ซาชิโย. (2555). รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ลูกหลานบ้านเหล่าหลิง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2555). ลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมของชมรมผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: เจ.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2561). ปฏิญญาผู้สูงวัย.สืบค้นเมื่อ.25มกราคม 2561, จาก http://senate.go.th
_______. (2561). ประกาศผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก http://senate.go.th.
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย (มพ.ป.). คู่มือชมรมผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
สมาคมสภาผู้สูงวัยแห่งประเทศไทยฯ. (มปป.). คู่มือชมรมผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: สมาคมสภาสูงอายุ
แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณ
ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงวัย. (2556). คู่มือคำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
สุพานี สฤษดิ์วานิช. (2010). การจัดการเชิงกลยุทธ์: แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
Abraham, Stanley C. (2006). Strategic Planning A Practical Guide for Competitive Succeed. California: Thomson South West.
Beall, J. (2007). Strategic Management of Private School: Recruitment, Compensation, Development and Retention of Teachers. Retrieved February 20, 2007, from http://proquest.umi.com/.
David, Fred R. (1997). Strategic Management. 6th ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
David, Fred R. (1999). Strategic Management Concept Cases. New York: McMillan Publishing.
David, Fred R. (2007). Strategic Management. 11st ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.