ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

กรกมล แถบเงิน
บรรจบ บุญจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นภูมิ แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหารด้านภาวะผู้นำและด้านการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลร่วมกันต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.668 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี บังสี และชนมณี ศิลานุกิจ. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามทรรศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(1), 1-10.

ชุติมา ชูวงษ์ และอัญชนา พานิช (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(3), 2148-2161.

โชติมากานต์ ไชยเยศ, ปานวาด ปรียานนท์, นงลักษณ์ โพธิ์น้อย และพรเพ็ญ ทองกันยา. (2566).

ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(3), 340-353.

ธีรพงศ์ อุปทุม. (2562). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปรียาภรณ์ เรืองเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

พรรณี มนพัทธ์ปริพัตร. (2560). ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้

ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มัณฑนา ศรีพุทธา. (2564). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รังสรร มังกรงาม, พจนีย์ มั่งคั่ง และวิชิต แสงสว่าง. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 210-217.

สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นครราชสีมา: ผู้แต่ง.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566–2580) (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุดศิริ หิรัญชุณหะ, สุกานดา บุญคง, ศศิธร พุมดวง, นงนุช บุญยัง และหทัยรัตน์ แสงจันทร์. (2564). สมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาพยาบาล ปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคต่อการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(4), 38-49.

อนุชา แสนราช. (2562). การพัฒนาชุดฝึกมัลติมีเดียการออกแบบโมเดล 3 มิติ ด้วยวิธีการสอนแบบ Google Sketch Up ร่วมกับการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาและเทคนิค TGT ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทักษะการใช้เทคโนโลยี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อังจิมา คงโอ. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

Anderson, M. L. & Lu, F. (2017). How leadership experience affects students. (online) (Retrieved September 9, 2023) from https://hbr.org/2017/02/research-how-leadership-experience-affects-students.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Educational and psychological measurement. New York: Minnesota University.

Partnership for 21st Century Learning. (2019). Framework for 21st century learning. (online) (Retrieved May 25, 2023) from https://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_Brief.pdf

Santos, J. M. (2017). 21st century learning skills: A challenge in every classroom. International Journal of Emerging Multidisciplinary Research, 1(1), 31-35.