ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดียที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการป้องกันการทุจริต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พิชญาวรรณ จันทร์แห่ว
แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการป้องกันการทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดียก่อนเรียนและหลังเรียน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการป้องกันการทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดียหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนาด่าน ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการหาคุณภาพ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดียมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.48 คุณภาพเหมาะสมในระดับมาก 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.40-0.77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.73 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 ดำเนินการทดลองโดยใช้เวลาทั้งหมด 16 ชั่วโมง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ กลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการเปรียบเทียบข้อมูล 1 กลุ่ม


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการป้องกันการทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดีย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาป้องกันการทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดีย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเสริมด้วยสื่อมัลติมีเดียรายวิชาการป้องกันการทุจริต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบแบบร่วมมือ ; สื่อมัลติมีเดีย ; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทวรรณ กล่อมดี. (2565). การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รอบรู้เรื่องมะพร้าว ที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พระมหาสุนทร ฐิตรตโน (แก้วกองนอก). (2563). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม กับการดำเนินชีวิตในสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสิรภพ ปภสฺสโร (ยุทธคราม). (2563). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชาพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชฎาพร พิมพิชัย. (2554). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วันวิสาข์ โชรัมย์ และณิชวรรณ จันอ้น. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพ ระหว่างการใช้ บทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือกับการสอนแบบปกติ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(1). 7-12.

อนิรุธ แจ่มพลาย และอุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ. (2565). การพัฒนาสื่อช่วยสอนมัลติมีเดียร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2565, 975-984.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์