รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร -

Main Article Content

ไชยา ภาวะบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างและพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 106 คน ได้มาโดยแบ่งเป็นระดับชั้นโดยใช้ร้อยละ 74 ของจำนวนนักศึกษา จำแนกเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 86 คน และนักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 20 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำด้านดิจิทัล มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .989 ด้านที่ 2 สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำด้านดิจิทัล มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำด้านดิจิทัล ประกอบด้วย การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาความคล่องทางดิจิทัล การสร้างนวัตกรรมการเรียนและการทำงาน การรู้ทันเทคโนโลยีดิจิทัล การคิดสร้างสรรค์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนและการทำงาน และคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัล คือ การศึกษาเอกสารประกอบ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติจริง 2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำด้านดิจิทัล ประกอบไปด้วย 1) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) เนื้อหาของรูปแบบ 5) กระบวนการของรูปแบบ 6) การวัดและประเมินผล และผลการประเมินร่างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัล พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัล พบว่า โดยรวมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา ค่าดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัล โดยรวม ดัชนีประสิทธิผลจึงมีค่าเพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.963 หรือคิดเป็นร้อยละ 96.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญชพร ค้าทอง. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 446-460.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.

ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไชยา ภาวะบุตร, สุรัตน์ ดวงชาทม และสุมัทนา หาญสุริย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 1-10.

ณัฐยาภรณ์ เล็กสิงโต. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 6(1), 159-173.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ และคณะ. (2560). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูไทยในศตวรรษที่ 2. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 1-14.

รัษฎากร อัครจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สรรฤดี ดีปู่. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตนครชัยบุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เสาวลักษณ์ รัตนิพนธ์. (2560). ความรู้เกี่ยวกับงานบริการวิชาการแก่สังคม. (ออนไลน์) จาก http://www.chumphon2. mju.ac.th/km/?p=520

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อินทิรา ชูศรีทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Beetham, H., & Sharpe, R. (Eds.). (2013). Rethinking pedagogy for a digital age: Designing for 21st century learning. New York, NY: Routledge.

Dessler, G. (1991). Human Resource Management. 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Fansher, H. (2011). 21st Century Learning Environments: Building a Better School. Canada: Springbank Community High School.

Kaganer, E., Sieber, S., & Zamora, J. (2014). The 5 keys to a Digital Mindset. IESE.From URL: http://www. forbes. com/sites/iese/2021/03/11/the-5-keys-to-a-digitalmindset/2.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Marc, D. (2010). Demographic vistas. In Demographic Vistas. University of Pennsylvania Press.

Park. Y. (2016). 8 Digital skills we must teach our children. Retrieved October 15, 2016, from http://www.weforum.org.