การส่งเสริมและพัฒนาการนำผลประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

รัตน์ฐาภัทร ธนโชติสุขสบาย
ประสิทธิ์ ไชยศรี
พิศุทธิ์ บัวเปรม
ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาการนำผลประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ได้แก่ นักวิชาการจาก สมศ. ผู้ประสานงาน
จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร และครู รวม 16 คน มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลเป็นลักษณะการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์  


ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมและพัฒนาการนำผลประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีประเด็นที่ต้องการพัฒนา 3 ด้านหลัก ดังนี้ ด้านผู้เรียน ได้แก่ 1) การวางแผนพัฒนาเด็ก 2) จัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขนิสัย 3) การบันทึกประเมิน ผลรายบุคคล 4) การนำผลประเมินมาพัฒนา ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ 1) การประเมินพัฒนาการเด็ก 2) การนำเสนอผลการประเมิน 3) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อมูลป้อนกลับ 4) กิจกรรมแสดงผลงาน และด้านบริหารสถานศึกษา ได้แก่ 1) การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา 2) การบริหารตามระบบบริหารวงจรคุณภาพ (PDCA) 3) การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 4) การพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม 5) การประเมิน และนำผลประเมินมาปรับปรุง 6) การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน นอกจากนี้มีด้านอื่น ๆ ได้แก่
1) กระบวนการบริหารการจัดการเรียนการสอนตามบริบทของศูนย์พัฒนาเด็ก 2) ข้อมูลแบบอย่างที่ดีหรือนวัตกรรม 3) นำเสนอแหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิงโดยจัดทำลิงค์หรือ QR Code ที่สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 27 ตุลาคม 2566 จาก http://nscr.nesdc.go.th

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะอย่างไร. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 ตุลาคม 2566). จาก https://www.trueplookpanya.com

ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชร พรพิณ. (2558). การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 ตุลาคม 2566). จาก https:// patcharapornphin.wordpress.com

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ไพลิน พิงพิทยากุล. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. ใน การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มานนท์ จันทร์เจียม. (2558). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มภูเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 28 ตุลาคม 2566). จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2566). สารสนเทศด้านจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 7 พฤษภาคม 2566). จาก https://edustatistics.moe.go.th/teacher70

สยามรัฐออนไลน์. (2566). การปฏิรูปการศึกษาไทยในรอบปี 2565 มีอะไรบ้าง. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 27 ตุลาคม 2566). จาก https://siamrath.co.th

สุรเศรษฐ์ บุญนก และสายทิตย์ ยะฟู. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยรังสิต.