ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด ต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ชยานันต์ ยอดคีรี
วิไล พลพวก

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิดระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือ แบบกลุ่มเดียววัดก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่า ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 - 0.50 ความยากง่ายระหว่าง 0.62 - 0.79 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ (One Sample T-Test) และการทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จีรนุช ภูทองเงิน. (2563). การพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จุฬาลักษณ์ กองพิลา. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉันทณัฐ ฉุยกลัด. (2560). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับสามเณรชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-6 โรงเรียนโสภณจริยธรรมวิทยา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิค, 3(1), 115-122.

ชมพูนุช บุญอากาศ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการจับใจความภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน.

ทิศนา แขมมณี .(2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวัฒน์ มะลิวรรณ. (2556). การเขียนบันทึกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : การวิเคราะห์พัฒนาการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัยนา จันตาวงศ์. (2551). การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธี CIRC. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นูริยะห์ เจ๊ะยอ และคณะ. (2552). ผลการใช้วิธีสอนแบบ CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่าน เพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวทยาลัยทักษิณ, 10(18), 25 - 29

บุญปรารถนา มาลาทอง. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตรR มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรนิภา บรรจงมณี. (2548). การใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน ภาษาอังกฤษและการคิดไตร่ตรองของผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พลรพี ทุมมาพันธ์. (2545). ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการที่มีต่อความสามารถด้านการคิดสะท้อนของครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลำพอง กลมกูล. (2554). อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วณัฐพล สินภิบาล. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนภาพความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรพรรณ สิทธิเลิศ. (2537) ผลของการเรียนโดยวิธี CIRC ที่มีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศในชั้นเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาพร มีอาษา, (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Schon D. (1991). The reflective practitioner. San Francisco: Jossey Bass.

Slavin, R.E. (1983). Cooperative Learning. Review of Education Research, 50(Summer), 315-342.