สมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู ในยุคการศึกษา 4.0

Main Article Content

จุฬารัตน์ บุษบงก์

บทคัดย่อ

การศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู ในยุคการศึกษา 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู ในยุคการศึกษา 4.0 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดสมรรถนะดิจิทัล มาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุ 20-25 ปี มีประสบการณ์การสอน 1-5 ปี สำเร็จศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะมนุษศาสตร์ และสอนในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ผลการวิจัยสมรรถนะดิจิทัล มีจำนวน 6 ด้าน ซึ่งในภาพรวมทั้งหมดสมรรถนะดิจิทัล อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ได้แก่ 1.การเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.51) 2.การใช้ดิจิทัล (Digital Skill/ICT Skill) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.47)  3.การผลิตและการติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Produce and Communication in Digital’s Tool ) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.49)  4.การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Problem Solving with Digital tools) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.53) 5.การประเมินข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล (Evaluating in Digital Information Technology) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.48) 6.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม (Ethics of Digital Technology used) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.44)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพศ โกนสันเทียะและคณะ. (2565). สมรรถนะดิจิทัล: สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 22(2), 14-23.

จุฬารัตน์ บุษบงก์. (2566). สมรรถนะดิจิทัล: ทักษะเพื่อการเรียนรูอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายของการประชุมเอเปค ด้านการศึกษา 2022. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 18(24), 70-85.

ธนัชธ์พร แก้วฉีด และอัญชลี วิมลศิลป์. (2563). ตัวแบบการยกระดับสมรรถนะดิจิทัลในทุนมนุษย์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา. 4(1), 49-66.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). การเรียนการสอนในยุค 4.0 ต้องเป็นอย่างไร. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 29 กันยายน 2566).จาก https://www.trueplookpanya.com

ศยามน อินสะอาด. (2566). สมรรถนะดิจิทัลของผู้สอนในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 18(24), 1-17.

สุพรรณี บุญหนัก และคณะ. (2564). การศึกษา 4.0: กระบวนทัศน์การศึกษามุ่งสู่อนาคตประเทศ. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง. 1(1), 41-53.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้ง ที่ 4/2564. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 9 ตุลาคม 2566).จาก https://www.obec.go.th/archives.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561, 27 ธันวาคม). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). กรอบสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาแนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 22 ตุลาคม 2566). จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/

Bryn Mawr College. (2016). Bryn Mawr Digital Competencies Framework. Blended Learning Research and Open Educational Resources. [Online]. Available from: https://repository.brynmawr.edu/oer/

European Union. (2021). The Digital Competence Framework. [Online]. Available from: https://digital-skills-jobs.europa.eu/en/actions/european-initiatives

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

UNESCO. (2022). The ICT Competency Framework for Teachers Harnessing OER Project: digital skills development for teachers. [Online]. Available from: https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223