แนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

Main Article Content

นุชบา จูมาศ
ประจบ ขวัญมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การปฏิบัติงาน 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 317 คน ได้มาโดยการเปิดตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ร้อยละ จัดลำดับความสำคัญ และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (F-test)            ผลการวิจัย พบว่า1. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยภาพรวม ทุกด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีสภาพการปฏิบัติสูงที่สุด ได้แก่ ด้านพัฒนาครูและบุคลากร และด้านที่มีสภาพการปฏิบัติต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน3. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 พบว่า สถานศึกษาควรกำหนดแนวทางการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ในแผนการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีการวางแผนทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ควรพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางนวัตกรรมรวมถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ และควรมีการจัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นาตยา สุขเอม และจินดา ศรีญาณลักษณ์. (2564). รูปแบบการพัฒนากระบวนการการบริหารการประกันคุณภาพ ภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 32(2), 108-122.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิรุณศักดิ์ มหานิติพงษ์ และคนอื่นๆ. (2564). สภาพและแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 55-65.

รัชฎาภรณ์ ทิพย์กาญจนรัตน์. (2560, สิงหาคม). การปฏิรูปการศึกษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 423-431.

วรรณภา นันทะแสง และคนอื่นๆ. (2564). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. Journal of Buddhist Education and Research, 7(2), 15-25.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2565). รายงานการประกันคุณภาพกำแพงเพชร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Rahmania, I., et al. (2020, February). Implementation of Internal Quality Guarantee System to Increase the Quality of Education in Junior High School 21 Malang. Budapest International Research and Critics in Linguistics and Education (BirLE) Journal, 3(1), 42.