การนิเทศเชิงออกแบบ : นวัตกรรมการนิเทศเพื่อแก้ปัญหากระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์

Main Article Content

พลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล
นิษฐ์ฐา พีระชัยภาวงศ์
นันนกรฐ์ ทิพย์สูงเนิน
สิรินธร สินจินดาวงศ์
ชินกฤต ศรีสุข

บทคัดย่อ

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 กล่าวถึงการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษาไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 6 ซึ่งให้ความสำคัญกับการนิเทศเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน แต่จากผลการประเมิน PISA ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี พ.ศ. 2561 ผู้เรียนไทยมีสมรรถนะด้านการอ่าน รวมถึงด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้มากขึ้น หนึ่งในรูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรมการนิเทศ คือ “การนิเทศเชิงออกแบบ” หรือ “Design Supervision” ซึ่งมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเอาใจใส่ (Empathize) 2) ขั้นกำหนดปัญหา (Define) 3) ขั้นสร้างแนวคิด (Ideate) 4) ขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) และ 5) ขั้นทดสอบ (Test) โดยประโยชน์ของการนิเทศเชิงออกแบบ คือ ส่งเสริมหลักการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน พัฒนาผู้นิเทศและครูให้มีวิธีการแบบองค์รวมในการแก้ปัญหา (Holistic Problem Solving) รวมถึงวิธีการคิดของการเรียนรู้และการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (mindset of continuous learning and growth) เพื่อสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการสนทนาที่สร้างสรรค์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

พลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล, ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

 

 

นันนกรฐ์ ทิพย์สูงเนิน, รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

 

 

สิรินธร สินจินดาวงศ์, ครู โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ 

 

 

References

เกาะกระแส. (2566, ธันวาคม 11). ธนาคารโลกชี้ คะแนน PISA เด็กไทยถดถอย ย้ำ 3 ประเด็นสําคัญ รัฐต้องเร่งแก้ด่วน. https://thaipublica.org/2020/12/world-bank-thailand-report-students-assessment/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สาธิตการพิมพ์สหกรณ์การเกษตรของไทย บริษัท จํากัด

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

Austin, K. S., Allen, G. E., Brunsting, N. C., Common, E. A., & Lane, K. L. (2023). Active supervision: empowering teachers and families to support students in varied learning contexts. Preventing School Failure: Alternative Education for Children and Youth, 67(2), 98-105.

Barron, C. C., Dayton, C. J., & Goletz, J. L. (2022). From the voices of supervisees: What is reflective supervision and how does it support their work?(Part I). Infant Mental Health Journal, 43(2), 207-225.

Brown, T. (2008). Design thinking. Harvard business review, 86(6), 84.

Brown, T. (2010). Change by design. Lian Jing/Tsai Fong Books.

Carroll, M., & Holloway, E. (Eds.). (1998). Counselling supervision in context. Sage.

Eberle, B. (1996). Scamper on: Games for imagination development. Prufrock Press Inc.

Hickson, H. (2023). Exploring how social workers learn and use reflection (Doctoral dissertation,La Trobe).

Kadushin, A., & Harkness, D. (2014). Supervision in Social Work, 5e. Columbia University Press.

National Education Act, 1999. (1999, August 14). Royal Gazette, Volume 116, chapter 74 a,

O’Neil, M. (2023). Mentoring and Supervision in Field Education. Ministry in Context: A Guide toTheological Field Education and Ministry Internships in Australia and New Zealand, 48.

Oktavani, M., Farizi, A., Salsabila, M. S., Suryati, S., & Maseleno, A. (2023). Educational Administration and Supervision Orientation Development. Journal of Learning and Educational Policy (JLEP) ISSN: 2799-1121, 3(04), 24-31.

Rogers, C. R. (1956). Intellectualized psychotherapy. Contemporary Psychology, 1(12), 357–358.

Schon, D. A. (1989). Quotations. A Symposium on Schon's Concept of Reflective Practice: Critiques, Commentaries, Illustrations. Journal of Curriculum and Supervision, 5(1), 6-9.

Willenberg, E. P. (1966). Chapter VII: Organization, Administration, and Supervision of Special Education. Review of Educational Research, 36(1), 134-150.