การพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2*

Main Article Content

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ
เสริมทรัพย์ วรปัญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี และประเมินประสิทธิภาพการพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การติดตาม และการนิเทศ กลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำนวน 5 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง มีขั้นตอนในการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การร่างการพัฒนารูปแบบ โรงเรียนดี 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนดี 3) การทดลองใช้การการพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี    4) ประเมินคุณภาพการใช้ การพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี    5) นำการการพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี  ที่สมบูรณ์ไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนในสังกัด ผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนดี   ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน การประกันคุณภาพผู้เรียน 2) ด้านผลที่เกิดกับนักเรียน สถานศึกษา และชุมชน และ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพการการพัฒนารูปแบบโรงเรียนดี   โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารจัดการและด้านการจัดการเรียนการสอนการประกันคุณภาพผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ด้านผลที่เกิดกับผู้เรียน โรงเรียน และชุมชน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ผลการประเมินประสิทธิภาพ และด้านเนื้อหาของรูปแบบมีความสอดคล้องกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมนิจ ปรีเปรม. (2554). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เจตสิทธิ์ นาคเสน. (2550). การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 1--2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 123 -136

ชัชวาล เจริญบุญ. (2554). การพัฒนารูปแบบครูเพื่อเสริมสร้างการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของครูผู้สอนในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปรด.(ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พูนภัทรา พูลผล. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลโลก. วารสารวิจัยทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2(426--37).

พระมหาลำพึง ธีรปัญโญ. (2545). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัญฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรภวิษย์ อุ่นวิเศษ.(2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร

กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิไลลักษณ์ แก้วนพรัตน์. (2551). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,(3)169--182

ศศิร์อร สาระกุล.(2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาสังกัดเทศบาล จังหวัดสระบุรี.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

สนองศรี แสงศรี. (2556) .การศึกษารูปแบบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชนโดย

กระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารผลงานวิจัยเด่น, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (สกว)

(1)128 -134

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

อภิบาล สุวรรณโคตร์และ สมหญิง จันทรุไทย .(2563). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 73 -86.

Kemmis, S., McTaggart, R. & Nixon, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore: Springer (200pp.)

Zuber – Skerrit, Ortrun, (1992). Action Research in Higher Education: Examples and Reflection. Guildford: Biddles Ltd.