กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2

Main Article Content

เผด็จ บุญเป็ง
พูนชัย ยาวิราช
ไพโรจน์ ด้วงนคร
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการ 2. ศึกษาสมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ในสถานศึกษาที่สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐต้องการ 3. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4. เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 ผลการศึกษา พบว่า  1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารแผนกวิชา  2. สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้างในสถานศึกษาที่สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐต้องการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการใช้ทักษะชีวิต (Life Skills)  3. ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 พบว่ามี 5 กลยุทธ์หลัก ดังนี้ 1) พัฒนาการบริหารแผนกวิชา โดยการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายตามหลักสูตรและแผนการเรียน (SO) 2) พัฒนาคุณภาพสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ (ST) 3) พัฒนาความรู้ตามสมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 (ST) 4) สร้างกระบวนการวัดผลประเมินผลที่เป็นระบบและส่งเสริมการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน 5) พัฒนาระบบการนิเทศการศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ (WO)  4. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและมากที่สุด สรุปได้ว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. 6 มีนาคม 2562.

ไชยา ประพันธ์ศิริ (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สุโขทัย: วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย.

นันทนา ชมชื่น (2563). การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1), 88-99.

บุญสืบ โพธิ์ศรี. (2560). เอกสารประกอบการสอนวิชาการสัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: รัตนโรจน์การพิมพ์.

ปัญจรัตน์ คำทองสุข. (2560). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ผ่องพรรณ ปินตาแสน. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พงค์สิลป์ รัตนอุดม (2564). รูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 16(1), 58-75.

พีรสิชฌ์ มีสมสาร. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานะ ครุธาโรจน์. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคการศึกษา 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 351-369.

รณชัย คงเติม (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในโรงเรียนเอกชน จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2554). มาตรฐานตามกรอบของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพระดับคุณวุฒิวิชาชีพ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงปี 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

อนุวัฒน์ จองเดิน. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2556). อาชีวศึกษากับการพัฒนาประเทศ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.bme.vec.go.th

อิฏฐิรา ทรงกิติพิศาล (2563). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.