ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

Main Article Content

ชาลี เปี่ยมพลอย
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษ ที่ 21 ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ปีการศึกษา 2565 จำนวน 306 คน ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.29-0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.30-0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1.) ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2.) องค์กรแห่งความสุข โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการสร้างองค์กรแห่งความสุข มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงและระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.) ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ด้านการบริหารบุคคลกับองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.78 และร่วมกันทำนายองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ร้อยละ 64 และมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความสำเร็จในองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยมีค่า F = 114.96   และมีค่า Sig. = .000 จากผลของการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำด้านการบริหารบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ดังนั้น หน่วยงานบังคับบัญชา จึงควรมีนโยบายส่งเสริม เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์การทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรในองค์การในด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ คำนึงถึงการมอบหมายงานให้กับคนในองค์การตามความสามารถและความถนัดของบุคคลเพื่อให้การดำเนินงานภายในโรงเรียนประสบความสำเร็จจากการให้ความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียนตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์ (1991).

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

นิวุธ มีพันธ์. (2559). ตัวแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พจนรินทร์ เหลืองอรัญนภา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฏีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2552). 10 วิธีสร้างความสุขในที่ทำงานด้วยตัวคุณเอง. (ออนไลน์) (สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2566) จาก https://www.thaihealth.or.th/Content

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2559). 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุวีณา ไชยแสนย์. (2558). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบาย สาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.