การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารสื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนากษิณ โนสุ
สมเกตุ อุทธโยธา
สายฝน แสนใจพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารสื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรในการวิจัย รวม 120 คน แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 บุคคล ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่คะ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งนก 4) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปางปอย 5) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยไคร้ และผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ หัวหน้างานบริหารงานวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กระบวนการบริหารสื่อการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีระบบ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่คะ อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ ใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 5 โรงเรียน และ แบบสอบถามกระบวนการบริหารสื่อการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีระบบ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่คะ อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ ใช้สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารสื่อการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีระบบ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมดำเนินการ โดยนำกระบวนการทฤษฎีระบบมาใช้ในการบริหารสื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ด้านนโยบายและแผน ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ ไม่ได้ดำเนินการกำหนดเป้าหมายในการบริหารสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่ชัดเจนและไม่ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารสื่อเพื่อการเรียนรู้ไว้ใช้ดำเนินการ 2) ด้านงบประมาณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่คะ มีการจัดทำงบประมาณการบริหารสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่ไม่ชัดเจน 3) ด้านบุคลากร ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่คะขาดการประเมินผลงานบุคลากรด้านการบริหารสื่อเพื่อการเรียนรู้ 4) ด้านส่งเสริมวิชาการ ขาดความต่อเนื่องของการนิเทศแนะนำการปฏิบัติงานด้านการบริหารสื่อเพื่อการเรียนรู้ 5) ด้านบริหารจัดการ ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่คะการบริหารจัดการและการประเมินผลที่เป็นลำดับขั้นตอนที่ยังชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรรรณ ปิยะวัฒน์. (2555). การวิจัยเชิงสำรวจอุปสรรคที่มีผลต่อความตั้งใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์ของผู้ใช้งานในชุมชนออนไลน์. สงขลา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.

ธัญภา แสงตันชัย. (2561). การบริหารสื่อและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บัญชา โพธิพิทักษ์. (2559). สื่อวีดีทัศน์และรายการโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชราพร ริกากรณ์. (2555). การศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์กรมหาชน. (2557). มาตรฐานการศึกษาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพ ภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2554-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์กรมหาชน.

สุนีรัตน์ ฤกษ์สุจริต. (2552). การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ 5 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวัฒน์ ธรรมสุนทร. (2555). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.