ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ TGT ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศศิวิมล แสงประสิทธิ์
วิไล พลพวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบ TGTของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 75  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยระหว่างก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบTGTของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบTGT แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือ แบบกลุ่มเดียววัดก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบTGT 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 - 0.67 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบ TGT สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีเปรียบเทียบกับเกณฑ์ (One Sample t-test) และการทดสอบที่ แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent  t-test)  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการเรียนแบบ ร่วมมือแบบTGT สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบTGTสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบTGTอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: 2552(2),1-11.

เกริกเกียรติ นรินทร์. (2563). การศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ TGT เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการทำงานเป็นทีม วิชาเทคโนโลยี.วิทยาการคำนวณ. ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองหาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2549. การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความร้เพื'อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา Education Research. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตนา บุตรอุดม. (2559). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน. พิมพ์ครั้งที่2. นนทบุรี: ซีซีนอลลิดซ์ลิงส์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 5 ปี. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

รัตนา บุตรอุดม. (2559). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน โรงเรียนอนุบาลบึงนาราง. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนบ้านหมากแข้ง. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. อุดรธานี: โรงเรียนบ้านหมากแข้ง.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันทนา เล่ห์มนตรี. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

ศักดิ์ดา เสนสาย (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. (พิมพ์ครั้งที่ 4) .เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

สหรัฐ ลักษณะสุต. (2563). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขันเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วิจัยผลงานทางวิชาการ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อุกฤษฏ์ ทองอยู่. (2562). การศึกษาการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 นาเริ่งราษฎร์บำรุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.

อรรคพล อุษา. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาอังกฤษใ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อิสระพงศ์ โสภาใย (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยใช้การเรียนรู้ด้วยเทคนิคTGTสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนมหาวิชานุกูล. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Slavin.(1995). Cooperative Learning: Theory, research and practice. 2nd ed. Massachusetts: Simon& Schuster.