ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบCIRCเสริมด้วยเทคนิค การสะท้อนคิดต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ชุติมา นันบุญ
วิไล พลพวก
กาญจนา นิลนวล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย  จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.23 - 0.78  ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34 - 0.76  และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ ( One Sample t-test) และการทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า        1) ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิด อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระศิลปะ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กนกวรรณ ภู่ทิม. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขนิษฐา มาทุ่ง. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญคำประพันธ์ประเภทกลอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนไกรพิทยาคม โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญการอ่านจับใจความสำคัญคำประพันธ์ประเภทกลอน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38.

จารุวรรณ สังฆะจารย์. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จีรานุช ภูทองเงิน. (2563).การพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ชยานันต์ ยอดคีรี. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคการสะท้อนคิดต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

ชมพูนุท บุญอากาศ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทิศนา แขมมณี.(2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาตยา บุนนาค. (2561). ผลการใช้เทคนิคการสอน CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมะเดื่อ จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญปรารถนา มาลาทอง. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพโรจน์ ศรีคง และ ศิริพร พึ่งเพ็ชร์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC. คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร มีอาษา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. การค้นคว้า อิสระการศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.