การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

สนั่น ใจโชติ
จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
ทวีศักดิ์ ขันยศ
อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 226 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการมีภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1] การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล 2] ความรู้สามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการเรียนการสอน 3] ความรู้ความสามารถในการสอน 4] การมีทักษะและความรู้ดิจิทัล และ 5] รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถอธิบายองค์ประกอบการมีภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ได้ร้อยละ 78.90 ข้อค้นพบใหม่จากการวิเคราะห์องค์ประกอบการวิจัยเรื่องนี้บ่งชี้ว่า ผู้บริหารระดับสูง ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครู ด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอันดับแรกโดยเฉพาะสามารถบริหารจัดการข้อมูล รู้จักการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัย และควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความรู้สามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการเรียนการสอน  ควรคำนึงถึงการสร้างความชำนาญและความรู้ความสามารถในการสอน รวมถึงการมีทักษะและความรู้ดิจิทัล และรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2562). ผู้นำยุคดิจิทัล: กลยุทธ์การสื่อสารสู่ความสำเร็จ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(2), 36-46.

ชุลีกร นวลสมศรี และ สุทธิศักดิ์ จันทวงษ์ใส. (2563). สมรรถนะด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่พึงประสงค์สำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กร ภาครัฐในประเทศไทย 4.0. วารสารมหาวิทยา ลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(2).

ณัฎฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธีและนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2562). การรู้ท่าทัน สื่อสังคม ออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย พัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต และคณะ. (2563). คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทัน สื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท วอล์ค ออน คลาวด์ จำกัด.

ณัฐยาภรณ์ เล็กสิงห์โต. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธนัญชนก แสนจันทร์ และต้องลักษณ บุญธรรม. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 11(1), 82-91.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.(ออนไลน์) สืบค้น 12 ธันวาคม 2566 จาก

https://www.obec.go.th/wp-ontent/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. (ออนไลน์) สืบค้น 12 ธันวาคม 2566 จาก https://www.ocsc.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานการศึกษาแนว ปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). แผนการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสวิทยถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล = School Management in Digital. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.