ทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาความเป็นนวัตกรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อศึกษาทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,661 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) จำนวน 338 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 67 ข้อ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .947 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นนวัตกรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ทรัพยากรทางการศึกษาส่งผลทางบวกต่อความเป็นนวัตกรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001
Article Details
References
กนกพร มาอ้วน. (2564). การบริหารการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานอย่างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14, 18 สิงหาคม 2564, กรุงเทพ.
ทิิพย์สุุคนธ์ สุมรูป และคณะ. (2566). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อครูนักนวัตกรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารบััณฑิิตวิจััย JOURNAL OF GRADUATE RESEARCH, 14(2), 115-126.
ธนกร วชิระนิธิกุล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ. วารสารนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 2(4), 28-39.
วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 281-298.
วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ. (2559). ศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 949-968.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. Walailak Journal of Learning Innovations, 1(2), 3–14.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2566-2570. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.