รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ดำเนินการ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียน ประชากรได้แก่ ผู้บริหารและคณะครู จำนวน 252 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 161 คน จำแนกได้ดังนี้ 1) โรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี (บ้านวังกะ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกเป็น ผู้บริหาร 4 คน ครู 83 คน รวม 87 คน 2) โรงเรียนบ้านเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำแนกเป็น ผู้บริหาร 5 คน ครู 83 รวม 88 คน 3) โรงเรียนบ้านเข็กน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำแนกเป็น ผู้บริหาร 4 คน ครู 73 รวม 77 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คนโดยแบ่งกลุ่มความเชี่ยวชาญออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พิเศษบนภูเขา กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนโยบายการบริหารการศึกษาพื้นที่พิเศษบนภูเขา กลุ่มที่ 3 ผู้มีผลงานด้านวิชาการ งานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พิเศษบนภูเขา และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 30 คน ซึ่งซึ่งต้องเป็นมีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา และมีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา 10 ปีขึ้นไป 2) ผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษหรือโรงเรียนในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แบบผู้ร่วมงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา รูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
จิราวรรณ โรจน์พรทิพย์. (2564). การศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่พิเศษบนภูเขา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชญานี ภัทรวารินทร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 188-201.
มานิตย์ แก้วกันธะ. (2558). การบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนหลายชนเผ่าเรียนรวมกันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 106-107.
วิทยา จันทร์ศิลา. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 114-127.
ศุภากร เมฆขยาย. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาวิทยาจารย์, 93-106.
สรษ แก้วคำฟู. (2560). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนยอดนิยม จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2558). การจัดการศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่พิเศษ. กรุงเทพฯ.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ชัยณรงค์ สร้างช้าง, สุวดี อุปปินใจ และพูนชัย ยาวิราช. (ม.ป.ป.). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 . วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 305-306
สุวดี อุปปินใจ. (2560). การบริหารงบประมาณ การเงิน และการบริหารทั่วไป. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Bush, T. (2003). Theories of Educational Leadership and Management 3rd Edition. London: SAGE Publications Ltd.