แนวทางการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา พานบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2

Main Article Content

กนกวรรณ ชิดชาญชัย
วิชิต เทพประสิทธิ์
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา พานบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 โดยใช้เครื่องมือที่ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1.ผลการศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้ พบว่าทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก  ล้วนส่งผลต่อสภาพการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ทั้งสิ้น  3.แนวทางการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ โดยใช้หลักมีส่วนร่วม แยกเป็นรายด้านตามขั้นตอนการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้นาฏศิลป์ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 2  การนำหลักสูตรไปใช้ ขั้นตอนที่ 3 การนิเทศ กำกับติดตามการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้หลักสูตร โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม 4 หลัก ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิชิต เทพประสิทธิ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 

 

 

 

References

กนกพิชญ์ เขื้อเจ็ดตน และไพรภ รัตนชูวงศ์. (2563). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเชียงแสนอาคาเดมี . วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, (5(2), 1-14.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0. รายงานการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธาริดา สกลภัทรสกุล. (2565). สภาพและแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิรุทธ์ แม้นรัมย์. (2560). การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ประเวศ เวชชะ. (2565). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พิมพ์พิชมญชุ์ สุภายอง. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

รัศมี เทพแก้ว. (2561).ความสำคัญของการศึกษา.(ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 17 ธันวาคม 2561 ). จาก https://education.maggang.com

โรงเรียนบ้านกล้วย. (2565). รายงานการประชุมประจำเดือน มิถุนายน 2565. เชียงราย: โรงเรียนบ้านกล้วย.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพ: อาร์แอนด์ปรินท์จำกัด.

ศิริเกศ เพ็ชรขำ. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สิทธิชัย อุตทาสา และพิมลพรรณ เพชรสมบัตร. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(3), 28-40

Taro Yamane. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper&Row.