รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่จัดการสอนห้องเรียนพิเศษอย่างมีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ลัดดา เจียมจูไร
จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร
กฤษดา ผ่องพิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพความคาดหวัง 2) พัฒนารูปแบบ และ
3) ประเมินผลรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่จัดการสอนห้องเรียนพิเศษอย่างมีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ขั้นตอนวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษฯ ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือฯ และขั้นที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่จัดการสอนห้องเรียนพิเศษอย่างมีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า  1. ระดับสภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาที่จัดการสอนห้องเรียนพิเศษอย่างมีประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับสภาพที่คาดหวังการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่จัดการสอนห้องเรียนพิเศษอย่างมีประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด  2. ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบฯ มี 10 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นําของผู้บริหาร 2) ครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพ 3) การคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ 4) เครือข่าย การมีส่วนร่วม
5) การบริหารงานบุคคล 6) การจัดทำแผนกลยุทธ์ 7) หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 8) การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี 9) การวัดผลและประเมินผลที่ส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ 10) ผลลัพธ์จากการบริหารจัดการสถานศึกษา 3. ผลการประเมินผลรูปแบบและคู่มือ พบว่า รูปแบบและคู่มือมีระดับความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ลัดดา เจียมจูไร, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก

 



จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์, อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก

 

 

เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร, อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก

 

 

 

 

กฤษดา ผ่องพิทยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์



References

เอกสารอ้างอิง

ธันฐกานต์ ทองสินเกียรติ และสิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). เกณฑ์ปกติมาตรฐานการพัฒนาสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(36), 191-211.

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นริศรา ใจคง และสิริกานต์ แก้วคงทอง. (2564). นิเวศการเรียนรู้: เรื่องเก่าบนวิถีใหม่. วารสารการศึกษาไทย. 18(3), 64.

พิเชฐ โพธิ์ภักดี. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ศักดิ์จิต มาศจิตต์. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 11. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award: TQA). กรุงเทพฯ: บริษัท อินโนกราฟฟิกส์จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Baldrige Performance Excellence Program. (2013). Education Criteria for Performance Excellence 2013–2014. Gaithersburg, MD: U.S. Department of Commerce, National Institute of Standards and Technology. (Online) (Retrieved 30 August 2023) from http://www.nist.gov/baldrige.

Ng, P. T. (2003). The Singapore School and the School Excellence Model, Educational Research for Policy and Practice, 2(1), 27–39.

Sammons, P. & Bakkum, L. (2011). Effective Schools Equity and Teacher Effectiveness: A Review to the literature. (Online) (Retrieved 30 August 2023) from http://www.ugr.es/local/recfpro/rev153ART2en.pdf