แนวทางการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐานในมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและข้อเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน โดยใช้การสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในมุมมองของผู้บริหาร 1) การพัฒนาสมรรถนะครูมีความสำคัญจำเป็น จึงควรพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มพัฒนาครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการถ่ายทอดให้กับนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2) สมรรถนะที่สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 คือ จิตวิญญาณความเป็นครู อันดับที่ 2 คือการปฏิบัติงานครูอย่างมืออาชีพ อันดับที่ 3 มี 4 ข้อคือใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ศิลปะการใช้สื่อ อำนวยการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูคือ การบูรณาการสมรรถนะครูควบคู่กับงานประจำของครูพี่เลี้ยงเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับนักศึกษาครูต่อไป
Article Details
References
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2567). เอกสารประกอบการประชุมซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน โดยคณะกรรมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วันที่ 30 มกราคม 2567. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
งานยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพการศึกษา. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (พ.ศ. 2565 – 2569). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2559). เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2) , 284-289.
ภาคีเพื่อการศึกษาไทย. (2561). “การจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เป็น “เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” (เอกสารประกอบการประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2561 ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 9 พฤษภาคม 2561)
รัฐพล พรหมสะอาด สุรชัย มีชาญ และ อรอุมา เจริญสุข. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1). 255-268.
วาทินี พูลทรัพย์. (2563). องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ: กรณีตัวอย่างโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.