ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

มิ่งขวัญ ญาติธรรม
สายันต์ บุญใบ
รัชฎาพร งอยภูธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบความสัมพันธ์และหาแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 238 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และครูผู้สอน จำนวน 218 คน จาก 20 สถานศึกษา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งคุณภาพของแบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .729 - .811 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .910 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .817 - .923 และค่าความเชื่อมั่นเมื่อ เท่ากับ .938 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA), และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (rxy = .863) 5. แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี มีดังนี้ 5.1 แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพ มี 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการวางแผน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณและด้านการประเมินผล 5.2 แนวทางพัฒนาประสิทธิผล มี 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการศึกษาต่อเนื่องและด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ภาวงศ์. (2557). การเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์และหาอำนาจพยากรณ์ของ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร.

แคทรียา บุตรศรีผา. (2565) ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิรวรรณ อังศุชวาลวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ณัฏฐ์ คุ้มห้างสูง. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานทั่วไปในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.

นิศาชล บำรุงภักดี (2564). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

ยุทธพล อุพรม. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

วรินทร์ วิรุณพันธ์. (2564). รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(Results Based Management : RBM) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ 2564. อุดรธานี: สำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี.

วันซาวีรา เบ็ญลาเตะ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ปัตตานี: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วิดาพร สุขแสงนิล. (2562). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: วิทยาลัยทองสุข.

วิภาวดี ทวีโชค. (2561). สภาพปัญหาการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2565). นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอกการพิมพ์.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษาอนกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุดรธานี. (2564). รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(Results Based Management : RBM) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ 2564. เอกสารทางวิชาการ, เล่มที่ 18, 1-12. ศักดิ์ศรีอักษรการพิพม์.

สุภาพรณ์ พิลาดรัมย์. (2557). การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุรางลักษณื พรมใจสา, เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2). 107-118.

สุริดา หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส, วิทยานิพนธ์ ค.ม. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.